คะน้าเม็กซิโก ผักไชยา สมุนไพรดีสรรพคุณเพียบ กินป้องกันโรคโลหิตจาง ล้างสิ่งตกค้างในตับ

Advertisements

คะน้าเม็กซิโก ผักไชยา สมุนไพรดีสรรพคุณเพียบ กินป้องกันโรคโลหิตจาง ล้างสิ่งตกค้างในตับ

“ผักไชยา ผักชายา ผักโขมต้น ต้นผงชูรส ต้นมะละกอกินใบ” หรือก็คือชื่อเรียกอื่นๆ ของ “ต้นคะน้าเม็กซิโก” นั่นเองค่ะ เชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยิน หรือรู้สึกคุ้นหูกับชื่อต่างๆ เหล่านี้ ไม่ชื่อใดก็ชื่อหนึ่งเป็นแน่ หรือบางท่านอาจจะเคยรับประทานพืชชนิดนี้แล้วด้วยซ้ำ

และด้วยคำบอกเล่าที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พืชชนิดนี้มีรสชาติอร่อย เนื้อสัมผัสกรุบกรอบ ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ไม่มีรสขม และมีคุณค่าทางอาหารสูง มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมายมหาศาล แต่ข้อมูลดังกล่าวจะจริงเท็จแค่ไหนนั้น เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

คะน้าเม็กซิโก (Chaya) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cnidoscolus chayamansa McVaugh ชื่อพ้องคือ Cnidoscolus aconitifolius (Mill.) I.M.Johnst. เป็นพืชในวงศ์ EUPHORBIACEAE เช่นเดียวกับมันสำปะหลัง ยางพารา ฝิ่นต้น หนุมานนั่งแท่น สลัดได และสบู่ดำ คะน้าเม็กซิโกไม่ใช่พืชท้องถิ่นของประเทศไทย

แต่เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของประเทศเม็กซิโก ในแถบของคาบสมุทรยูกาตัน เป็นไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ มีความสูงของลำต้นประมาณ 2-6 ม. เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลมีน้ำยางสีขาวอยู่ภายใน ลักษณะของใบคล้ายกับใบเมเปิ้ล ขอบใบแยกออกเป็น 3-4 แฉก ดอกมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ในแต่ละช่อประกอบไปด้วยดอกย่อยจำนวนมาก


“ผักโขมต้น” สมุนไพรดีสรรพคุณเพียบ

สรรพคุณของสมุนไพรผักชายาที่จะทำให้ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และชอบการทานผักมากขึ้น บางพื้นที่อาจจะหาซื้อยาแต่ว่าเชื่อว่าหลายๆ ห้างสรรพสินค้านั้นมีขายแน่นอน

– รักษาหอบหืด

– เพิ่มระดับแคลเซียม

– รักษาและป้องกันโรคโลหิตจาง

– ควบคุมระดับน้ำตาลให้คนป่วยเบาหวาน

– ป้องกันอาการปวดหัว

– ปรับปรุงการทำงานของสมองและสายตา

– ป้องกันริดสีดวง

– ล้างสิ่งตกค้างในตับ

– รักษาอาการเจ็บคอ

– ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ

– รักษาโรคกระดูกพรุน

– ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโต

คะน้าเม็กซิโก เป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน วิตามิน แคลเซียม โพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใดๆ ที่ปลูกบนดิน จากการศึกษาคุณค่าทางอาหารพบว่า คะน้าเม็กซิโกมีโปรตีน 8.25% ในขณะที่ถั่วอัลฟาฟามีเพียง 3.66% และผักโขมมีเพียง 2.00% จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมใบของคะน้าเม็กซิโกจึงมีรสชาติอร่อย เพราะมีปริมาณโปรตีนสูงนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวัง ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษ เนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15-20 นาทีในการทำให้สุก เพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย การเก็บใบคะน้าเม็กซิโกหรือการปรุงอาหารจากใบคะน้าเม็กซิโกห้ามใช้ภาชนะที่เป็นอะลูมิเนียม เพราะอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้ คะน้าเม็กซิโกสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง

วิธีปรุงดั้งเดิมอย่างหนึ่งในเม็กซิโกและอเมริกากลางจะนำใบไปแช่น้ำแล้วต้มไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นเสิร์ฟกับน้ำมันหรือเนย นอกจากนี้ ยังมีการนำใบที่หั่นและทำให้สุกแล้วไปคลุกข้าวรับประทานกับอาหารรสจัด หรือนวดผสมกับมันฝรั่งบดแล้วทอด นวดผสมกับแป้งข้าวโพดแล้วนำไปจี่หรือปิ้งหรือนึ่งก็ได้


ส่วนผสมในการทำชา

1. ใบชายา 6 ใบ

2. น้ำ 2 ถ้วย

วิธีทำชาจากใบชายา

1. ต้มน้ำให้เดือด

2. ใส่ใบชายาลงไป เคี่ยวทิ้งไว้ 10 นาที

3. ยกลงมาเทใส่แก้ว

4. รอให้อุ่นแล้วเสริฟดื่มได้เลย

ในการดื่มชาจากใบชายานี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีควรดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร 1 ถ้วย ใบชายาที่ลวกแล้วเอามาลงในสลัดครีมก็อร่อย ลอยในซุปก็สุดยอดมาก ทานบ่อย ๆ ร่างกายจะได้โปรตีน วิตามิน แคลเซียม โพแทสเซียม และเหล็ก ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และมีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย สารอาหารเยอะจัดเยอะมากเมื่อเทียบกับผักใบเขียวอีกหลายประเภท

การขยายพันธุ์คะน้าเม็กซิโก

การขยายพันธุ์ทำได้โดยการนำกิ่งที่ค่อนข้างแก่มาตัดเป็นท่อนๆ แล้วชำลงถุงดำ ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์กิ่งจะเริ่มแตกใบอ่อน รอให้ต้นแข็งแรงจึงย้ายลงปลูกในดิน การดูแลรักษาค่อนข้างง่าย เพราะคะน้าเม็กซิโกเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว และไม่ค่อยมีแมลงรบกวน

สำหรับต้นที่ตัดกิ่งมาปลูกทางผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรรอให้ต้นไม้มีอายุประมาณ 2 ปี เพื่อให้ต้นแข็งแรงเสียก่อนจึงค่อยเก็บมาบริโภค และไม่ควรเก็บใบจากต้นเกินกว่า 50% เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้ง่ายๆ

ลองแบ่งเวลาปลูกผักกินเอง สร้างความพอเพียงและสร้างสุขภาพในครัวเรือนกันนะคะ!

ข้อมูลและภาพจาก pharmacy, matichonweekly
ข้อมูลสมุนไพรเพิ่มเติม : คะน้าเม็กซิโก…ต้นไม้แสนอร่อย โดย ภญ.กฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น