ประโยชน์ของต้นบอน ผักสมุนไพรพื้นบ้าน ทำแกงกินอร่อย พร้อมเคล็ดลับกินบอนยังไงไม่ให้คัน
Advertisements
ประโยชน์ของต้นบอน ผักสมุนไพรพื้นบ้าน ทำแกงกินอร่อย พร้อมเคล็ดลับกินบอนยังไงไม่ให้คัน
บอน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Araceae อวบน้ำ มีหัวใต้ดิน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพบได้ทั่วไปประเทศไทยพบทุกภาค ชอบขึ้นบนดินโคลนหรือบริเวณที่มีน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว
บอน ชื่อสามัญ Elephant ear, Cocoyam, Dasheen, Eddoe, Japanese taro, Taro ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia esculenta (L.) Schott (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Colocasia esculenta var. aquatilis Hassk.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
สำหรับการรับประทานต้นบอนนั้น นิยมนำมาประกอบอาหารจำพวกแกงกะทิหรือแกงส้ม ไม่นิยมกินดิบ เพราะจะทำให้เกิดอาการคันได้ ก่อนที่จะนำใบอ่อน หรือก้านใบ ของบอนมาปรุงเป็นอาหาร ต้องลอกผิวที่ก้านใบออกก่อน โดยเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้คัน และไม่ให้มือดำจากยางบอน
นอกจากนี้การใช้ความร้อนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กัน เช่น นำมาต้มเคี่ยวเป็นเวลานานพอสมควร นอกจากนี้ยังนำมาดองโดยขยำกับเกลือให้ยางบอนออกมากที่สุด หรือใส่ของที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มมะขาม น้ำมะกรูด เป็นต้น แต่ต้องต้มเคี่ยวและคั้นน้ำทิ้งก่อนสัก 2-3 ครั้ง
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาตามตำราไทยโบราณ จะใช้ส่วนไหล ตำกับเหง้าขมิ้นอ้อย ผสมเหล้าโรงเล็กน้อยใช้พอกฝี ส่วนรากนำมาต้ม กินแก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอและแก้เสียงแหบได้
*** ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรกิน บอน เพราะคนโบราณเชื่อว่า จะทำให้สายรกเปื่อย ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้***
สรรพคุณของบอน
น้ำจากลำต้นใต้ดินเป็นยาแก้ไข้ (น้ำจากลำต้นใต้ดิน)
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบแห้ง (ราก)
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
หัวใช้เป็นยาระบาย (หัว)
ช่วยขับปัสสาวะ (หัว)
หัวมีรสเมาคัน ใช้เป็นยาแก้เถาดานในท้อง กัดฝ้าหนอง (หัว)
หัวและน้ำจากก้านใบใช้เป็นยาห้ามเลือด (หัว, น้ำจากก้านใบ)
ลำต้นนำมาบดใช้เป็นยาพอกรักษาแผล รวมทั้งแผลจากงูกัด (ลำต้น)
น้ำจากลำต้นใต้ดินใช้เป็นยาแก้พิษแมลงป่อง (น้ำจากลำต้นใต้ดิน)
ก้านใบมีรสเย็นคัน นำมาตัดหัวท้ายออกแล้วนำไปลนไฟบิดเอาน้ำใช้หยอดแผลแก้พิษคางคก (ก้านใบ)
น้ำยางใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (น้ำยาง)
ยางใช้เป็นยาช่วยกำจัดหูด (ยาง)
ไหล หัว หรือ เหง้านำมาตำผสมกับเหง้าขมิ้น กะปิ ขี้วัว และเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกรักษาฝีตะมอย (ไหล)
น้ำคั้นจากก้านใบใช้เป็นยานวดแก้อาการฟกช้ำ (น้ำคั้นจากก้านใบ)
หัวช่วยขับน้ำนมของสตรี (หัว)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นบอน
ในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดจากใบบอนแห้งด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหนอง มีเส้นใยช่วยในการดูดซับสารก่อกลายพันธุ์
สารสกัดจากรากบอนด้วยเอทิลอะซิเตตมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอก แต่ควรมีการทำการวิจัยต่อไป
หัวใต้ดินของต้นบอนมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต
น้ำจากก้านใบมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้นและทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมาก ทำให้บวมแดง
ประโยชน์ของบอน
ไหลและหัวใต้ดินนำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นอาหารได้ ส่วนใบอ่อนและก้านใบอ่อน สามารถนำมาใช้ทำอาหารประเภทต้มได้ เช่น แกงส้ม แกงกะทิ แกงบอน เป็นต้น หรือจะนำมาลอกจิ้มน้ำพริกรับประทาน แต่ต้องทำให้สุกก่อนจึงจะไม่คัน โดยนำมาต้ม 2-3 ครั้ง แล้วคั้นเอาน้ำทิ้งหรือนำไปเผาไฟก่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร (เวลาปอกเปลือกควรสวมถุงมือและสับเป็นท่อน ๆ ก่อนนำไปต้ม) นอกจากนี้ก้านบอนยังนำมาดองได้อีกด้วย
ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ใบบอนมาต้มให้หมูกิน หรือจะใช้ก้านใบนำมาสับผสมเป็นอาหารหมู
ใบบอนมีคุณสมบัติพิเศษคือไม่เปียกน้ำ เพราะมีขี้ผึ้งเคลือบผิวใบอยู่ จึงนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการห่อของได้ เช่น การใช้ห่อข้าวหมาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำมาใช้ตักน้ำดื่มยามไม่มีภาชนะได้อีกด้วย
ต้นบอนสามารถทำรายได้ให้กับชาวบ้านด้วยการตัดก้านบอนมาลอกเปลือกแล้วตากให้แห้ง ส่งขายเป็นสินค้าส่งออกอย่างหนึ่ง
ใบบอนดูแล้วมีความสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบนะครับ อีกทั้งต้นบอนยังช่วยรักษาฝายชั่ง แม่น้ำลำคลอง ไม่ให้ถูกกัดเซาะจากคลื่นได้อีกด้วย
ข้อควรรู้เกี่ยวกับบอน
วิธีการเลือกบอน ให้เลือกใช้ต้นอ่อนพันธุ์สีเขียวสดและไม่มีสีขาวนวลเคลือบอยู่ตามแผ่นใบและก้านใบ โดยบอนสีเขียวสดจะเรียกว่า "บอนหวาน" (ชนิดคันน้อย) ส่วนชนิดที่มีสีซีดกว่าและมีสีขาวนวลกว่าจะเรียกว่า "บอนคัน" (ชนิดคันมาก) ส่วนที่นำมาใช้แกงคือ หลี่บอน เป็นยอดอ่อนหรือใบอ่อนของบอนที่อยู่ใกล้กับโคนต้น
ก่อนการปอกเปลือกก้านบอนถ้าไม่ใส่ถุงมือ ก็ให้ทามือด้วยปูนแดงที่กินกับหมากให้ทั่วทั้งมือก่อน เวลาปอกควรล้างบอนให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
ห้ามล้างด้วยน้ำเย็น แล้วนำไปต้มใส่ในน้ำเดือดและคั้นน้ำทิ้งประมาณ 2-3 ครั้งก่อนนำไปประกอบอาหาร แต่บางคนอาจนำไปเผาก่อนก็ได้ หรือจะนำไปปรุงกับเครื่องปรุงที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะขามเปียก มะดัน ส้มป่อย น้ำมะกรูด เป็นต้น หรือจะนำมาขยำกับเกลือเพื่อให้ยางบอนออกมากที่สุดเพื่อช่วยดับพิษคันหรือช่วยทำลายผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ที่มีอยู่มากในต้นบอน
การนึ่งบอนต้องนึ่งให้สุก จับดูแล้วมีลักษณะนิ่มจนเละ เพราะถ้าบอนไม่สุก เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดอาการระคายคอได้
ในการปรุงแกงบอน หากไม่ใช้น้ำมะขามเปียก ก็ให้ใช้น้ำส้มป่อยแทนก็ได้
แม่ครัวสมัยก่อนจะถือเคล็ดด้วยว่า หากปรุงอาหารด้วยบอนอยู่นั้น ห้ามใครเอ่ยถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความคันเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการคันขึ้นมาจริง ๆ ทั้งผู้ปรุงและผู้รับประทาน
ความเป็นพิษของต้นบอน
น้ำยางและลำต้นหากสัมผัสผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการคันและปวดแสบปวดร้อน แล้วต่อมาจะเกิดอาการอักเสบ บวมและพองเป็นตุ่มใส หากนำมาเคี้ยวหรือรับประทานสดจะทำให้เกิดอาการคันคออย่างรุนแรง
เนื่องจากผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ทำให้เกิดน้ำลายมาก ทำให้บวมบริเวณลิ้น ปาก เพดาน และใบหน้า ทำให้พูดจาลำบาก หากมีอาการเป็นพิษรุนแรงจะทำให้พูดไม่ได้ ลิ้นหนัก คันปาก ลำคอบวมและอักเสบอย่างรุนแรง
ที่มา...https://medthai.com/
น้ำจากลำต้นใต้ดินเป็นยาแก้ไข้ (น้ำจากลำต้นใต้ดิน)
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบแห้ง (ราก)
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
หัวใช้เป็นยาระบาย (หัว)
ช่วยขับปัสสาวะ (หัว)
หัวมีรสเมาคัน ใช้เป็นยาแก้เถาดานในท้อง กัดฝ้าหนอง (หัว)
หัวและน้ำจากก้านใบใช้เป็นยาห้ามเลือด (หัว, น้ำจากก้านใบ)
ลำต้นนำมาบดใช้เป็นยาพอกรักษาแผล รวมทั้งแผลจากงูกัด (ลำต้น)
น้ำจากลำต้นใต้ดินใช้เป็นยาแก้พิษแมลงป่อง (น้ำจากลำต้นใต้ดิน)
ก้านใบมีรสเย็นคัน นำมาตัดหัวท้ายออกแล้วนำไปลนไฟบิดเอาน้ำใช้หยอดแผลแก้พิษคางคก (ก้านใบ)
น้ำยางใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (น้ำยาง)
ยางใช้เป็นยาช่วยกำจัดหูด (ยาง)
ไหล หัว หรือ เหง้านำมาตำผสมกับเหง้าขมิ้น กะปิ ขี้วัว และเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกรักษาฝีตะมอย (ไหล)
น้ำคั้นจากก้านใบใช้เป็นยานวดแก้อาการฟกช้ำ (น้ำคั้นจากก้านใบ)
หัวช่วยขับน้ำนมของสตรี (หัว)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นบอน
ในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดจากใบบอนแห้งด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหนอง มีเส้นใยช่วยในการดูดซับสารก่อกลายพันธุ์
สารสกัดจากรากบอนด้วยเอทิลอะซิเตตมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอก แต่ควรมีการทำการวิจัยต่อไป
หัวใต้ดินของต้นบอนมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต
น้ำจากก้านใบมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้นและทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมาก ทำให้บวมแดง
คลิปจากCHANAWAN
ประโยชน์ของบอน
ไหลและหัวใต้ดินนำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นอาหารได้ ส่วนใบอ่อนและก้านใบอ่อน สามารถนำมาใช้ทำอาหารประเภทต้มได้ เช่น แกงส้ม แกงกะทิ แกงบอน เป็นต้น หรือจะนำมาลอกจิ้มน้ำพริกรับประทาน แต่ต้องทำให้สุกก่อนจึงจะไม่คัน โดยนำมาต้ม 2-3 ครั้ง แล้วคั้นเอาน้ำทิ้งหรือนำไปเผาไฟก่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร (เวลาปอกเปลือกควรสวมถุงมือและสับเป็นท่อน ๆ ก่อนนำไปต้ม) นอกจากนี้ก้านบอนยังนำมาดองได้อีกด้วย
ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ใบบอนมาต้มให้หมูกิน หรือจะใช้ก้านใบนำมาสับผสมเป็นอาหารหมู
ใบบอนมีคุณสมบัติพิเศษคือไม่เปียกน้ำ เพราะมีขี้ผึ้งเคลือบผิวใบอยู่ จึงนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการห่อของได้ เช่น การใช้ห่อข้าวหมาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำมาใช้ตักน้ำดื่มยามไม่มีภาชนะได้อีกด้วย
ต้นบอนสามารถทำรายได้ให้กับชาวบ้านด้วยการตัดก้านบอนมาลอกเปลือกแล้วตากให้แห้ง ส่งขายเป็นสินค้าส่งออกอย่างหนึ่ง
ใบบอนดูแล้วมีความสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบนะครับ อีกทั้งต้นบอนยังช่วยรักษาฝายชั่ง แม่น้ำลำคลอง ไม่ให้ถูกกัดเซาะจากคลื่นได้อีกด้วย
ข้อควรรู้เกี่ยวกับบอน
วิธีการเลือกบอน ให้เลือกใช้ต้นอ่อนพันธุ์สีเขียวสดและไม่มีสีขาวนวลเคลือบอยู่ตามแผ่นใบและก้านใบ โดยบอนสีเขียวสดจะเรียกว่า "บอนหวาน" (ชนิดคันน้อย) ส่วนชนิดที่มีสีซีดกว่าและมีสีขาวนวลกว่าจะเรียกว่า "บอนคัน" (ชนิดคันมาก) ส่วนที่นำมาใช้แกงคือ หลี่บอน เป็นยอดอ่อนหรือใบอ่อนของบอนที่อยู่ใกล้กับโคนต้น
ก่อนการปอกเปลือกก้านบอนถ้าไม่ใส่ถุงมือ ก็ให้ทามือด้วยปูนแดงที่กินกับหมากให้ทั่วทั้งมือก่อน เวลาปอกควรล้างบอนให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
ห้ามล้างด้วยน้ำเย็น แล้วนำไปต้มใส่ในน้ำเดือดและคั้นน้ำทิ้งประมาณ 2-3 ครั้งก่อนนำไปประกอบอาหาร แต่บางคนอาจนำไปเผาก่อนก็ได้ หรือจะนำไปปรุงกับเครื่องปรุงที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะขามเปียก มะดัน ส้มป่อย น้ำมะกรูด เป็นต้น หรือจะนำมาขยำกับเกลือเพื่อให้ยางบอนออกมากที่สุดเพื่อช่วยดับพิษคันหรือช่วยทำลายผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ที่มีอยู่มากในต้นบอน
การนึ่งบอนต้องนึ่งให้สุก จับดูแล้วมีลักษณะนิ่มจนเละ เพราะถ้าบอนไม่สุก เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดอาการระคายคอได้
ในการปรุงแกงบอน หากไม่ใช้น้ำมะขามเปียก ก็ให้ใช้น้ำส้มป่อยแทนก็ได้
แม่ครัวสมัยก่อนจะถือเคล็ดด้วยว่า หากปรุงอาหารด้วยบอนอยู่นั้น ห้ามใครเอ่ยถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความคันเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการคันขึ้นมาจริง ๆ ทั้งผู้ปรุงและผู้รับประทาน
ความเป็นพิษของต้นบอน
น้ำยางและลำต้นหากสัมผัสผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการคันและปวดแสบปวดร้อน แล้วต่อมาจะเกิดอาการอักเสบ บวมและพองเป็นตุ่มใส หากนำมาเคี้ยวหรือรับประทานสดจะทำให้เกิดอาการคันคออย่างรุนแรง
เนื่องจากผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ทำให้เกิดน้ำลายมาก ทำให้บวมบริเวณลิ้น ปาก เพดาน และใบหน้า ทำให้พูดจาลำบาก หากมีอาการเป็นพิษรุนแรงจะทำให้พูดไม่ได้ ลิ้นหนัก คันปาก ลำคอบวมและอักเสบอย่างรุนแรง
ที่มา...https://medthai.com/
Advertisements
Post a Comment