มะกล่ำต้น ผักอีหล่ำ ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสมัน กินเป็นผักสด หรือลวกจิ้มน้ำพริกอร่อยมาก
Advertisements
มะกล่ำต้น ผักอีหล่ำ ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสมัน กินเป็นผักสด หรือลวกจิ้มน้ำพริกอร่อยมาก
มะกล่ำต้น ผักอีหล่ำ (Red sandalwood tree) ไม้ยืนต้นที่มากด้วยสรรพคุณทางสมุนไพร มีความสูงของต้นได้ถึง 20 เมตร ส่วนดอกมะกล่ำต้น ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกแคบยาวเป็นรูปทรงกระบอก โดยจะออกดอกตามซอกใบช่วงบนหรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกจะมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ในช่วงเย็นคล้ายกลิ่นของดอกส้ม โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
มะกล่ำต้น ผักอีหล่ำ มะกล่ำตาช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina L. โดยต้นมะกล่ำต้นเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี พบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 50-400 เมตร
ประโยชน์ของมะกล่ำต้น
ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสมัน ใช้กินเป็นผักสดร่วมกับอาหารได้หลายประเภท เช่น ลาบ ส้มตำ น้ำตก และอาหารประเภทที่มีรสจัด หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาแกงก็ได้ โดยคุณค่าทางโภชนาการของยอดอ่อนมะกล่ำต้นต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 0.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 0.6 กรัม, ไขมัน 1.51 กรัม, ใยอาหาร 1.7 กรัม, วิตามินเอ 6,155 หน่วยสากล, วิตามินบี 3 37 มิลลิกรัม (ข้อมูลจากภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ปี พ.ศ. 2537)
สรรพคุณของมะกล่ำต้น
ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)
ใบใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
เมล็ดนำมาฝนกับน้ำทาแก้อาการปวดศีรษะ หรือจะใช้เนื้อไม้ฝนกับน้ำทาขมับก็แก้ปวดศีรษะได้เช่นกัน (เนื้อ, เมล็ด)
รากเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)
เนื้อไม้มีรสเฝื่อน ใช้ฝนกับน้ำกินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใช้เนื้อไม้ต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้อาเจียน (เนื้อไม้)
ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
รากมีรสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ กัดเสมหะในคอ (ราก)
ช่วยแก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง และแก้อาการสะอึก (ราก)
ช่วยแก้ลมในท้อง (ราก)
เมล็ดมีรสเฝื่อนเมา นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกินแก้อาการจุกเสียด (เมล็ด)
เนื้อในเมล็ดใช้ผสมกับยาอื่นเป็นยาระบายได้ (เนื้อในเมล็ด)
ใบใช้ต้มกินเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง (ใบ)
เนื้อในเมล็ดมีรสเมาเบื่อ นำมาบดเป็นผงแล้วปั้นเป็นมัด ใช้กินเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนและพยาธิเส้นด้าย หรือจะใช้เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก แล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับยาระบาย ใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือนหรือพยาธิตัวตืด (เมล็ด)
เมล็ดนำมาบดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ด ใช้กินเป็นยาแก้หนองใน (เมล็ด)
เมล็ดและใบมีรสเฝื่อนเมา เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก (เมล็ดและใบ)
ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบ)
เมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้โรยใส่แผลฝีหนอง ช่วยดับพิษฝี ดับพิษบาดแผล (เมล็ด)
เมล็ดนำมาฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ (เมล็ด)[1] ส่วนรากช่วยถอนพิษฝี (ราก)
ใบนำมาต้มกินแก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ (ใบ)
อ้างอิงบทความจาก...https://medthai.com/
Advertisements
Post a Comment