สูตรทำชาใบกะเพรา ดื่มบ่อยๆช่วยแก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงธาตุ และคลายเครียดได้ดี
Advertisements
สูตรทำชาใบกะเพรา ดื่มบ่อยๆช่วยแก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงธาตุ และคลายเครียดได้ดี
กะเพรา (Holy basil, Sacred basil) เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสฉุน ร้อน คนไทยนิยมนำใบและยอดอ่อนมาประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น ผัดกะเพรา แกงป่า รวมไปถึงมีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด
โดยตามตำราสมุนไพรไทยได้บรรยายสรรพคุณไว้ว่า กะเพรา นั้นสามารถช่วยขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยบำรุงธาตุ เป็นต้น
สำหรับสายพันธุ์ของกะเพรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กะเพราแดงและกะเพราขาว โดยกะเพราแดงจะมีฤทธิ์ที่แรงกว่ากะเพราขาว ในสรรพคุณทางยาจึงนิยมใช้กะเพราแดง โดยส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนของใบ ยอดกะเพรา (ทั้งสดและแห้ง) และทั้งต้น แต่ถ้านำมาใช้ประกอบอาหารจะนิยมใช้กะเพราขาวมากกว่า นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถนำใบกะเพรามาทำเป็นชาสมุนไพรตามตำรับอายุรเวทที่มีมากว่า 5,000 ปี
สูตรทำชาใบกะเพรา
เพียงเทน้ำเดือดในถ้วยชา จากนั้นใส่ใบกะเพราสด หรือ ใบกะเพราอบแห้ง (ใบกะเพราตากแห้ง) ลงไปในถ้วยประมาณ 4-6 ใบ แล้วทิ้งไว้ ประมาณ 3-5 นาที แล้วจึงนำมาดื่ม จะช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้ไข้ ขับลมในกระเพาะ และ ฯลฯ
สรรพคุณของกะเพรา
ใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (the elixir of life)
ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นและป้องกันอาการหวัดได้ (ใบ)
กะเพราเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายชนิด เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทางเด็ก ฯลฯ
รากแห้งนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยแก้โรคธาตุพิการ (ราก)
ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
ช่วยแก้อาการปวดด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาคั้นรับประทานสด 1 ถ้วยตะไล จะช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้เป็นอย่างดี (ใบ)
ช่วยขับลมแก้อาการปวดท้องอุจจาระ (ใบ)
ใบกะเพรามีสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ใบ)
ช่วยแก้ลมซานตาง (ใบ)
น้ำสกัดจากทั้งต้นของกะเพรามีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
ช่วยย่อยไขมัน (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
กะเพรามีสรรพคุณช่วยขับน้ำดี (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
ช่วยแก้ลมพิษ ด้วยการใช้ใบกะเพราประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ (ใบ)
ใช้ทำเป็นยารักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาขยี้ให้น้ำออกมา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย (ใบ)
ใช้เป็นยารักษาหูด ด้วยการใช้ใบกะเพราแดงสดนำมาขยี้แล้วทาบริเวณที่เป็นหูดเช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุดออกมา โดยระวังอย่าให้เข้าตาและถูกบริเวณผิวที่ไม่ได้เป็นหูด เพราะจะทำให้เนื้อดีเน่าเปื่อยและรักษาได้ยาก (ใบสด)
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาดเพราะจะมีสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและอาจถึงขั้นโคม่าได้ (ใบ)
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (น้ำมันใบกะเพรา)
มีงานวิจัยพบว่ากะเพราสามารช่วยยับยั้งสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบเจือปนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งได้ (สารสกัดจากกะเพรา)
ใบกะเพรามีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบกะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
ช่วยเพิ่มน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร ด้วยการใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่แกงเลียงรับประทานบ่อย ๆ ในช่วงหลังคลอด (ใบ)
นำเมล็ดไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย (เมล็ด)
ใบและกิ่งสดของกะเพรามีการนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยด้วยการต้มกลั่นจนได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08 - 0.1 โดยมีราคาประมาณกิโลกรัมละหนึ่งหมื่นบาท
ใช้ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ด้วยการใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด เอาใบมาขยี้แล้ววางใกล้ตัว ๆ จะช่วยไล่ยุงและแมลงได้ โดยน้ำมันกะเพราที่สกัดมาจากใบจะมีคุณสมบัติช่วยไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด (ใบสด, กิ่งสด)
น้ำมันสกัดจากใบสด ช่วยล่อแมลง ทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้ (น้ำมันสกัดจากใบสด)
ใช้ในการประกอบอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพราสุดโปรด เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดกบ ผัดหมู ผัดปลาไหล พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง หรือจะนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหารเมนูต่าง ๆ ก็ได้ ฯลฯ
ใบกะเพราสามารถช่วยดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้ (ใบ)
อ้างอิงข้อมูลบางส่วน https://medthai.com/
Advertisements
Post a Comment