ขนุนแดงสุริยา ผลไม้รสชาติหวานกรอบ กินบำรุงกำลัง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

Advertisements

ขนุนแดงสุริยา ผลไม้รสชาติหวานกรอบ กินบำรุงกำลัง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

ขนุน (Jackfruit, Jakfruit) ผลไม้มีรสหวาน กลิ่นหอม เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมไปไม่น้อยกว่าผลไม้อื่นๆ โดยขนุนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู

ขนุน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลไม้ที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และปกติแล้วขนุนจะมีเนื้อผล หรือ "ยวง" สีเหลือง แต่ก็มีบางชนิดที่มีเนื้อสีแดง สีชมพูอมส้ม หรือที่เรียกกันว่า ขนุนเนื้อสีจำปา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ขนุนแดงสุริยา หรือ ARTOCARPUS HETEROPHYLLUS LAMK. อยู่ในวงศ์ MORACEAE เป็นขนุนพันธุ์เบา สุดยอดขนุนเนื้อสีจำปา เมื่อสุกเนื้อจะเป็นสีแดงเข้ม เนื้อแข็ง ไม่เละ รสชาติหวานกรอบ และมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์รับประทานอร่อยมาก



สรรพคุณของขนุน

ช่วยบำรุงโลหิต ทำให้เลือดเย็น (แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด, ราก, แก่น)

ขนุนมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ชูหัวใจให้สดชื่น (เนื้อหุ้มเมล็ดสุก, เนื้อในเมล็ด, ผลสุก, เมล็ด)

ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด)

ขนุนหนังเป็นผลไม้ที่มีวิตามินอีสูงติด 10 อันดับแรกของผลไม้ และยังมีวิตามินซีสูงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผลสุก)

ขนุนมีประโยชน์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยมีผลงานวิจัยของประเทศศรีลังกา ที่ได้ทำการทดลองในผู้ป่วยเบาหวานและในหนูทดลอง ซึ่งผลการทดลองพบว่าสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลการทดลองยังได้ทำการเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวาน ซึ่งก็คือยา Tolbutamide

และได้ผลสรุปว่าสารสกัดจากขนุนสามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ายา Tolbutamide ภายในเวลา 5 ชม. สำหรับวิธีนำมาปรุงเป็นยาก็ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้ใบขนุนแก่ 5-10 ใบ นำมาต้มในน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนานประมาณ 15 นาที แล้วนำมาดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น (ใบ)



ช่วยระงับประสาท (ใบ)

ช่วยแก้โรคลมชัก (ใบ)

ใบขนุนละมุด นำไปเผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู และเป็นหูน้ำหนวก (ใบขนุนละมุด)

ใบขนุนใช้ต้มดื่มช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ใบ, ราก)

เมล็ดช่วยแก้อาการปวดท้อง (เมล็ดขนุน)

ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เนื้อหุ้มเมล็ด, ผลสุก)

ช่วยสมานลำไส้ (แก่น)

เม็ดขนุน มีสารพรีไบโอติกหรือสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ทนต่อการย่อยของกระเพาะอาหารและการดูดซึมของลำไส้เล็กตอนบน ซึ่งช่วยดูดซึมแร่ธาตุอย่างแคลเซียม เหล็ก สร้างสารป้องกันโรคมะเร็งลำ
ไส้ใหญ่ได้ โดยไม่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคแต่อย่างใด (เมล็ด)

ไส้ในของขนุนละมุด ใช้รับประทานช่วยแก้อาการตกเลือดในทวารเบาของสตรีที่มีมากไปให้หยุดได้ (ไส้ในขนุน)

แก่นและเนื้อไม้ของต้นขนุน นำมาใช้รับประทานช่วยแก้กามโรค (แก่นและเนื้อไม้)

ช่วยขับพยาธิ (ใบ)

ใช้แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ใบ, ราก)

ช่วยรักษาแผลมีหนองเรื้อรัง (ยาง, ใบ)

ช่วยสมานแผล (แก่น)

ใช้ทาแผลบวมอักเสบ (ยาง)

ช่วยแก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่เกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง (ยาง)

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ช่วยในการจับกลุ่มอสุจิ เม็ดเลือดแดง แบคทีเรีย สารในของเหลวของร่างกาย ช่วยยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

ประโยชน์ของขนุน

เม็ดขนุน ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น (เม็ดขนุน)

ใช้หมักทำเหล้า (เนื้อหุ้มเมล็ดสุก)

ช่วยแก้อาการเมาสุรา (ผลสุก)

แก่นของต้นขนุน นำมาใช้ทำสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำตาลแก่ นิยมนำมาใช้ย้อมสีจีวรพระ

ส่าแห้งของขนุนนำมาใช้ทำเป็นชุดจุดไฟได้

เนื้อไม้ของต้นขนุนสามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องดนตรีได้

เมล็ดและยวงสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้

เนื้อขนุนสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้และทำเป็นขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่อง กินกับข้าวเหนียวมูน นำไปอบแห้ง

ขนุนอ่อนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานเป็นผัก เช่น ใส่ในส้มตำ ตำมะหนุน แกงขนุน ยำ ขนุนอบกรอบ เป็นต้น


อ้างอิงข้อมูลบางส่วน...https://medthai.com/
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น