ชมพู่มะเหมี่ยว ผลไม้พิชิตมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและอัมพาตได้
Advertisements
ชมพู่มะเหมี่ยว ผลไม้พิชิตมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและอัมพาตได้
ชมพู่มะเหมี่ยว ของไทยที่สามารถปลูกได้ทุกภูมิภาค หากบำรุงและดูแลดีๆ ก็จะอายุยืนเป็นสิบๆ ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งออกผลใหญ่และอร่อยมากขึ้นไปด้วย สรรพคุณมีมากตั้งแต่รากไปจนถึงยอดดอกเลยทีเดียว
ชมพู่มะเหมี่ยว ผลไม้คู่บ้าน
เชื่อว่าวัยรุ่นหลายคนโดยเฉพาะคนที่เกิดในเมือง โตในเมืองอย่างแท้จริงจะไม่ค่อยรู้จักผลไม้ชนิดนี้มากนัก ด้วยความที่เป็นต้นไม้กิ่งเยอะ ปลูกในเมืองที่มีพื้นที่จำกัดคงไม่สะดวกนัก (ยกเว้นบ้านไหนมีพื้นที่เยอะ) วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับเจ้าผลไม้แสนอร่อยแถมมากประโยชน์นี้กัน
ชมพู่มะเหมี่ยว คืออะไร
ชมพู่มะเหมี่ยว มีชื่อท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป เช่น มะเหมี่ยว, ชมพู่สาแหลก หรือชมพู่แดง แล้วแต่ใครจะเรียกแบบไหน แต่สุดท้ายก็คือผลไม้ชนิดเดียวกันนี่แหละ เป็นต้นไม้ยืนต้น ขนาดกลางๆ สูงประมาณ 6-15 เมตร มีกิ่งก้านเยอะ เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกไว้ในบ้าน เพื่อให้ร่มเงาและกินผลด้วย โดยจะนิยมกินผลสุก เพราะจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เนื้อหนานุ่ม มีกลิ่นหอมเหมือนดอกกุหลาบ และรูปร่างคล้ายผลแอปเปิ้ล
ชมพู่มะเหมี่ยว มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย ก่อนจะแพร่เข้ามาในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย ปัจจุบันมะเหมี่ยวปลูกได้ในทุกภาคของไทย หากดูแลดี มีอาหารและน้ำมากเพียงพอต่อการเติบโตก็จะมีอายุยืนเป็นหลายสิบปี ยิ่งอายุมากก็ยิ่งออกผลที่มีน้ำหนักมาก และอร่อยขึ้นตามไปด้วย
ชมพู่มะเหมี่ยว จะมีกิ่งก้านเยอะ อีกทั้งยังเป็นกิ่งใหญ่ มีกิ่งเล็กๆ แค่ปลายยอดเท่านั้น เปลือกสีน้ำตาลขรุขระสากมือ ใบจะออกเป็นใบเดียว ใบและยอดอ่อนจะเป็นสีชมพู ใบแก่จะสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีชมพูสวย ออกเป็นช่อกระจุกๆ 3-5 ดอก บริเวณกิ่งใหญ่ ผลมีรูปร่างคล้ายระฆังหรือแอปเปิ้ล ผลสุกเต็มที่จะมีสีม่วงอมแดงเข้ม เนื้อหนานุ่มสีขาว รสเปรี้ยวอมหวาน และเมล็ดจะมี 1-5 เมล็ดซึ่งจะไม่เกาะกับเนื้อผล
สรรพคุณของชมพู่มะเหมี่ยว
ผลมีสารแอนโทไซยานินที่ต้านโรคมะเร็ง
ช่วยย่อยอาหาร ขับลม
ช่วยขยายเส้นเลือด ลดความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและอัมพาตได้
ช่วยเจริญอาหาร
แก้เก็บคอ ขับเสมหะ ช่วยให้ชุ่มคอ
ช่วยบำรุงเลือด
ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
มีแคลเซียม และฟอสฟอรัสบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
แก้ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด
ราก และเปลือกช่วยแก้ผื่นคันตามผิวหนัง ลดไข้ ขับปัสสาวะ และประจำเดือน
ขอบคุณข้อมูลจาก : ข้อมูลพันธุ์ไม้ ระบบฐานข้อมูลเกษตรดิจิทัล, puechkaset, aujchara, เกษตรกรก้าวหน้า, bangkrod.blogspot
Advertisements
Post a Comment