ว่านสาคู มันสาคูไทย ของดีหากินยาก ต้มหรือเผารับประทาน มีรสหวาน หอม

Advertisements

ว่านสาคู มันสาคูไทย ของดีหากินยาก ต้มหรือเผารับประทาน มีรสหวาน หอม

มันสาคู หรือ สาคูไทย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง ตะวันตกของเอกวาดอร์ ตอนกลางของทุ่งหญ้าของกิอานา และแถบทะเลคาริบเบียน มีชื่อพื้นเมือง มันสาคู,  สาคูขาว, สาคูวิลาศ  ชื่อวิทยาศาสตร์ Maranta arundinacea L. ชื่อวงศ์ TACCACEAE ชื่อสามัญ Indian Arrowroot 

ปัจจุบันพบแพร่กระจายทั่วในแถบประเทศเขตร้อนชื้น ส่วนประเทศไทยพบในทุกภาค แต่พบปริมาณน้อยลง เพราะไม่นิยมปลูก และรับประทานกันมากนัก เนื่องจาก หัวมีกาก และเส้นใยมาก ทำให้เคี้ยวลำบาก แต่ยังพบได้ตามป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ตามริมลำห้วยหรือที่ชื้นใกล้แหล่งน้ำ



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

1. ลำต้นใต้ดิน 

ลำต้นใต้ดินสาคูไทย เรียกว่า หัว หรือ เหง้า มีลักษณะคล้ายหัวลูกศร ขนาดหัวกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-40 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

– เครโอล (creole) หัวมีขนาดเล็ก เรียว และยาว แทงลึกลงดินได้หลายเซนติเมตร

– บานานา (banana) หัวมีขนาดใหญ่ และอวบสั้น ปริมาณหัวต่อต้นน้อย หัวแทงลงดินตื้นกว่าชนิด creole

หัวหรือเหง้าหลักจะติดกับโคนต้น และแตกหัวย่อยแทงลึกลงดิน โคนหัวแตกรากแขนงจำนวนมาก หัวย่อยอาจมีหัวเดียวหรือหลายหัว มีลักษณะทรงกระบอก เรียวยาว มีลักษณะแบ่งเป็นข้อๆ และมีตาชัดเจน และมีเกล็ดสีขาวหรือสีน้ำตาลหุ้ม เนื้อหัวด้านในมีสีขาว มีเส้นใยตามแนวยาวของหัว

2. ลำต้นเหนือดิน และใบ

ลำต้นสาคูไทยเหนือดินเป็นส่วนที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ประกอบด้วยแกนลำต้น และกาบใบ คล้ายกับพืชในกลุ่มว่านทั่วไป ส่วนด้านในเป็นแกนกลางที่ถูกหุ้มด้วยกาบใบ ส่วนด้านนอกเป็นกาบใบตั้งตรง มีลักษณะเกือบทรงกลม ยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ถัดมาเป็นก้านใบ มีขนาดสั้น จากนั้น เป็นแผ่นใบ มีรูปหอก กว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มองเห็นเส้นกลางใบสีเขียวชัดเจน ใบด้านล่างสุดมีขนาดใหญ่กว่าใบด้านบน แผ่นใบแบ่งออกเป็นสองข้างไม่เท่ากัน ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่มีสีเขียวเข้ม และค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อถึงหน้าแล้ง


ต้นสาคูไทย : สมุนไพรแก้อาการท้องเสีย โรคตับอักเสบ พอกรักษาแผล ขับปัสสาวะ และรักษาเลือดกำเดา



เครดิตคลิป  เด็กบ้านสวน


ประโยชน์สาคูไทย

1. หัวสาคูไทยนำมาต้มหรือเผารับประทาน เนื้อหัวมีรสหวาน แต่ค่อนข้างมีเส้นใยมาก โดยเฉพาะพันธุ์หัวเล็ก

2. แป้งสาคูไทยมีขนาดเม็ดเล็ก และละเอียด เป็นแป้งที่ย่อยง่าย จึงนิยมใช้ทำเป็นอาหารทารก และผู้ป่วย

3. แป้งสาคูไทยใช้ประกอบอาหารหรือเติมในอาหารเพื่อเพิ่มความหนืดเหนียว

4. แป้งสาคูไทยแปรรูปเป็นขนมหวาน ทำขนมสาคู ทำเค้ก คุกกี้ ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และขนมจีน เป็นต้น

5. หน่ออ่อนหรือแกนลำต้นอ่อนใช้ประกอบอาหาร อาทิ ผัด แกงเลียง หรือนำมารับประทานเป็นผักสดหรือลวกรับประทานคู่น้ำพริก

6. หัวหรือแป้งใช้หมักผลิตแอลกอฮอล์หรือน้ำส้มสายชู

7. เมล็ดนำมาคั่วไฟรับประทาน มีรสมันคล้ายถั่วทั่วไป

8. หัวหรือหน่ออ่อนนำมาต้มหรือให้สดเป็นอาหารเลี้ยงหมู

9. ใบใช้ห่อข้าว ห่ออาหาร ใช้ทำห่อหมก

10. เมล็ดนำมาร้อยเป็นลูกปัดหรือลูกประคำ

11. ลำต้น และใบสดนำมาเผารมควัน ช่วยไล่เหลือบ และยุง

12. บางพื้นที่นอกจากปลูกเพื่อรับประทานหัวแล้ว ยังปลูกเป็นไม้มงคล และไม้ประดับ



สรรพคุณสาคูไทย

– ชาวชวานำเมล็ดมาบด ก่อนใช้พอกรักษาอาการปวดหัว

– น้ำต้มจากหัวใช้ดื่ม แก้อาการท้องเสีย

– ชาวกัมพูชานำหัวมาตำให้ละเอียด และรับประทาน ช่วยแก้โรคคุดทะราด

– ชาวฮ่องกงนำหัวมาต้มเคี่ยว ก่อนดื่ม ช่วยแก้โรคตับอักเสบ

– ชาวอินโดนีเชียนำหัวสดมาตำให้ละเอียด ก่อนใช้ทาพอกรักษาแผล

– ชาวฟิลิปปินส์นำหัวมาต้มดื่ม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รวมถึงมาแช่น้ำ และตำให้ละเอียด ก่อนใช้อุดจมูกรักษาเลือดกำเดาออก



การปลูกสาคูไทย

สาคูไทยเป็นพืชที่ชอบดินชื้น เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขังหรือสภาพแห้งแล้งจัด

การปลูกสาคูไทยนิยมปลูกด้วยการแยกเหง้าเป็นหลัก โดยขุดเหง้าให้มีต้นหรือหน่อติดมาด้วย 1-3 ต้น จากนั้นตัดลำต้นส่วนปลายทิ้ง เหลือไว้ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือ ใช้หัวที่มีข้อ 2-4 ข้อ และอาจนำมารมควันก่อนนำลงปลูก เพื่อให้หัวแทงหน่อได้เร็วขึ้น ส่วนการปลูกในแปลงใหญ่จะใช้เหง้าเช่นกัน โดยปลูกเป็นแถว ระยะห่างระหว่างแถว และต้น ประมาณ 40-60 เซนติเมตร ทั้งนี้ ควรแยกเหง้าปลูกในช่วงต้นฤดูฝน หลังจากนั้น ปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ

การขุดเก็บหัว 

นิยมขุดเมื่ออายุได้ประมาณ 8-12 เดือน โดยจะขุดเก็บในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งลำต้น และใบจะเริ่มเหลือง และแห้ง


อ้างอิงข้อมูล https://puechkaset.com/
เครดิตภาพและคลิป  เด็กบ้านสวน
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น