10 วิธีออมเงิน “แบบหลอกตัวเอง” ให้มีเงินเก็บแบบไม่รู้ตัว
Advertisements
10 วิธีออมเงิน “แบบหลอกตัวเอง” ให้มีเงินเก็บแบบไม่รู้ตัว
รู้นะว่าหลาย ๆ คนทำยังไงก็ไม่เคยมีเงินเก็บสักที ต้องมีเรื่องมาคอยให้ใช้ตังค์อยู่เรื่อย
อันที่จริงแล้วการออมเงินไม่ได้ย ากขนาดนั้นเลยนะ เพียงแค่เราต้องมีวินัยกับตัวเอง ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
แล้วออมเงินส่วนที่เราไม่ได้ใช้ แต่ถึงบอกแบบนี้ก็ทำไม่ได้หรอกใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่ างนั้นมาหาวิธีเก็บเงินแบบหลอกตัวเองกันดีกว่า
อย่ างที่เรานำมาฝากในวันนี้ เก็บเงินได้โดยที่ไม่รู้สึกว่าเรากำลังออมเงินอยู่ ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1. หักเข้าบัญชีเงินออมอัตโนมัติ
มีแค่ความตั้งใจมันไม่พอครับ เพื่อน ๆ ควรทำเรื่องวางแผนการเงินให้เป็นเรื่องอัตโนมัติ
โดยที่เราแทบไม่ต้องมานั่งปวดหัวคิดทุกเดือน ว่าจะต้องออมเงินยังไงเท่าไหร่
โดยให้เพื่อน ๆ เข้าไปคุยกับธนาคาร แล้วขอจัดระบบโอนเงินอัตโนมัติ
จากบัญชีเงินเดือนของเพื่อน ๆ เข้าไปที่บัญชีเงินเก็บ เพียงเท่านี้ เพื่อน ๆ ก็จะไม่พลาดหรือลืมเก็บเงินตามที่ต้องการแล้วล่ะครับ
2. เอาเงินไปซ่อน
อ่ า นแล้วก็ประหลาดดีนะครับ แต่การทำให้ตัวเองไม่รู้ว่าเหลือเงินอยู่เท่าไหร่ จะทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น
ไม่อย ากใช้เงินฟุ่มเฟือย โดยเพื่อน ๆ สามารถทำการแยกบัญชีเงินเก็บไว้ธนาคารหนึ่ง และบัญชีใช้จ่ายไว้ในอีกธนาคารหนึ่ง
ทำให้เป็นเรื่องย ากที่เราจะมองเห็นยอดเงินเก็บของตัวเอง แถมทำให้ออมเงินได้มากขึ้นด้วย อีกวิธีนึงที่จะช่วยในการเก็บเงินก็คือ
สำหรับบัญชีเงินเก็บ เราไม่ต้องทำบัตรเอทีเอ็ม เพื่อที่เราจะได้ไม่มีเครื่องมือไว้ถอนเงินออกมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้นั่นเอง
3. ตั้งชื่อให้แต่ละบัญชี
เวลาเราเปิดบัญชีเงินฝากแต่ละที ชื่อบัญชีก็เป็นชื่อของเรา หรือเป็นเลขบัญชี ดูน่าเบื่อสุด ๆ เลยใช่ไหมล่ะครับ ยิ่งถ้าเรามีหลายบัญชี
ก็ยิ่งสับสนว่าแต่ละบัญชีจะใช้ทำอะไร ทางที่ดีถ้าหากเราอย ากออมเงินให้ได้มากขึ้น
ก็ให้เขียนไว้หน้าสมุดบัญชีว่า บัญชีนี้ใช้สำหรับทำอะไร
เช่น ไว้ไปเที่ยว ไว้จ่ายภาษี ไว้ซ่อมรถ เป็นต้น เราอาจจะตั้งชื่อให้แต่ละบัญชี เช่น ถ้าเป็นบัญชีเก็บเงินไปเที่ยว
ก็อาจจะตั้งเป็น ทริปไปฝรั่งเศสแบบชิค ๆ หรือถ้าเป็นบัญชีเงินฝากเตรียมเกษียณ
ก็อาจจะเป็นชื่อว่า Freedon Fund อะไรแบบนี้ ให้เรารู้สึกสนุกไปด้วย แถมออมเงินอยู่ด้วย
4. ใช้ App รายรับ-รายจ่าย
เพื่อน ๆ สามารถใช้ App ที่จะคอยติดตามการใช้งานของตัวเอง ว่ามีการถอนโอนจ่ายกันไปอย่ างไรบ้าง ทำให้เราสามารถออมเงินได้
ทุกเม็ดทุกหน่วย อย่ างเช่น App Digit หรือ App Acorns ที่ทำให้เราสามารถดูแลบัญชีข้ามธนาคาร แล้วเก็บเงินส่วนที่เหลือได้ครับ
5. ใส่กุญแจล็อกไว้เลย
ถ้าหากมีเงินส่วนไหนที่เราไม่ได้ใช้ แล้วคิดอย ากจะออมเงิน ก็ให้นำเงินไปเก็บไว้ในที่ที่ถอนออกมาย ากครับ
เช่นการเก็บเงินไว้ในบัตรเงินฝาก (Certificate of Deposit) ที่จะทำให้เพื่อน ๆ ถอนเงินออกมาไม่ได้
เว้นแต่จะจ่ายค่าธรรมเนียมเล็กน้อย ซึ่งเหมาะกับการออมเงินไว้สำหรับก่อนเกษียณนั่นเองครับ
เพื่อน ๆ สามารถเก็บเงินส่วนที่เหลือไว้กับตัว สำหรับใช้ในย ามฉุกเฉิน โดยมีขั้นต่ำสัก 20,000 บาทก็โอเคแล้วครับ
6. เก็บ Reward จากบัตรเครดิต
ถ้าหากเพื่อน ๆ ใช้บัตรเครดิตที่มี Cash-Back Rewards ก็ให้เอาเงินที่ได้ตรงนั้นไปเข้าบัญชีเงินฝากดีกว่าครับ
เพราะถือว่าเป็นเงินที่เราไม่ได้จำเป็นต้องใช้ในแต่ละเดือนนั่นเอง
7. เปลี่ยนค่าใช้จ่ายให้เป็นการออมเงิน
ถ้าหากเพื่อน ๆ มีการยกเลิกค่าใช้จ่ายบางอย่ าง เช่น การเปลี่ยนโปรมือถือให้ถูกลง หรือการยกเลิกเคเบิ้ลทีวี
แน่นอนว่าเพื่อน ๆ ต้องมีเงินเหลือใช่ไหมครับ ถ้าหากอย ากเก็บเงินให้ได้เพิ่มขึ้น
ก็ให้เอาเงินที่เหลือจากที่ต้องคอยจ่ายทุกเดือน มาเข้าบัญชีเงินฝาก ก็จะได้เงินออมเพิ่มขึ้นครับ
8. เอาเงินโบนัสมาเก็บ
ไม่ว่าจะเป็นเงินโบนัสเงินเดือน เงินได้คืนจากภาษี หรือการได้เงินคืนจากที่ใด ๆ ก็ตาม ถ้าเพื่อน ๆ อย ากเก็บเงินให้ได้เพิ่มขึ้น
การออมเงินส่วนเกิน ที่เราไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้เพื่อน ๆ สามารถออมเงินได้มากขึ้นครับ
9. ทำให้เหมือนเล่นเกม
เวลาเพื่อน ๆ ได้เงินทอนมาเป็นเหรียญ หรือทอนมาเป็นแบงค์ย่อย ๆ เช่นแบงค์ 50 ที่เราไม่ค่อยได้ใช้ ก็ให้กลับบ้านมา
แล้วเอาหยอดกระปุกไว้ ทุก ๆ สิ้นเดือนก็ให้เอาเงินจากกระปุกตรงนั้นไปเข้าบัญชีเงินฝาก ก็จะเก็บเงินได้เพิ่มขึ้นครับ
10. เมื่อเงินเดือนขึ้นก็ให้เก็บส่วนต่าง
ถ้าสมมุติปีนี้เพื่อน ๆ ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 2,000 บาท ก็ให้เก็บเงินเพิ่มตรงนี้ไว้ในบัญชีเงินฝากจะดีกว่าครับ
เพราะถ้าหากเราไม่ได้มีเหตุจำเป็นอะไรที่ต้องใช้เงินเพิ่ม ก็ออมเงินตรงนี้ไว้สำหรับตอนเกษียณ จะมั่นคงมากกว่า
เห็นไหมล่ะครับว่ามีหลากหลายวิธีเลย ที่จะทำให้เพื่อน ๆ สามารถเก็บเงินได้ โดยที่ไม่ต้องทำตัวประหยัดจนเกินไป
ถ้าเพื่อน ๆ วางแผนการเงินของตัวเองดี ๆ ก็จะมีเงินเก็บไว้ใช้ย ามฉุกเฉิน หรือตอนแก่แน่นอนครับ
ที่มา : moneyhub
Advertisements
Post a Comment