ศ.นพ.ประสิทธิ์ แนะ “ปลูกต้นตะขบ” กรอง ลด ฝุ่นละออง แก้ไขปัญหาระยะยาวได้

Advertisements

ศ.นพ.ประสิทธิ์ แนะ “ปลูกต้นตะขบ” กรอง ลด ฝุ่นละออง แก้ไขปัญหาระยะยาวได้

ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี แพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดเสวนาเรื่อง “ฝุ่นละออง PM2.5 กับปัญหาสุขภาพและแนวทางแก้ไข” โดยมีอาจารย์แพทย์และนักวิชาการ รวมถึงคนแวดวงสาธารณสุขและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมรับฟังอย่างพร้อมเพรียงกัน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนกำลังตื่นตัวและต้องหาซื้อหน้ากาก N95 ซึ่งความจริงไม่จำเป็นต้องวิ่งตามหา N95 ด้วยวิธีเดียว เพราะยังมีวิธีอื่นอีกมาก

อีกทั้งสภาวะอากาศใน 1 วันมีความแตกต่างกันตามช่วงเวลา การปิดประตู-หน้าต่างหรือการออกนอกพื้นที่ก็เช่นกัน อย่าตื่นตระหนกจนไม่เป็นทำอะไร

ส่วนในประเด็นการปลูกต้นไม้เพิ่มนั้น ต้นไม้ทั้งหมดสามารถใช้ได้ แต่บางชนิด เช่น ต้นตะขบ ลักษณะใบที่เป็นขนสามารถดักจับฝุ่นขนาดเล็กได้ดี การปลูกต้นไม้จึงเป็นแนวทางที่ทุกคนทำได้ ยังไม่หวังว่าทำวันนี้จะได้พรุ่งนี้ แต่อย่างน้อยสร้างออกซิเจนและเพิ่มประสิทธิภาพให้อากาศ หากเริ่มทำวันนี้ปัญหาในอนคตก็จะลดลง


นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ฝุ่นนับเป็นสาเหตุการตายก่อนเวลาอันสมควร ซึ่งสถานการณ์ของไทยจะเกิดขึ้นในฤดูหนาวปลายปีต่อต้นปี โดยสภาพอากาศที่นิ่งและลมสงบ ฝุ่นได้ขังตัวอยู่ระดับล่าง ทำให้คนสูดดมเข้าไป

โดยในช่วงเดือนพ.ย.ปี 61 ระดับของอากาศยังอยู่ที่สีเขียว กระทั่งเมื่อธ.ค. กลับมาเป็นสีส้ม จากนั้นลดลงช่วงปีใหม่เพราะเนื่องจากฝนตกลงมา และได้เพิ่มระดับขึ้นเป็นสีสมและแดงเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีผู้ที่เป็นโ ร ค ห อ บ หื ด จะถูกกระตุ้นได้เร็วว่าโ ร คอื่นๆ

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา ยังเปิดเผยว่า ข้อมูลจากทั่วโลกพบว่า 9 ใน 10 ของประชากรที่สัมผัสฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานส่งผลให้เกิดโ ร ค ไ ม่ ติ ด ต่ อ เป็นสาเหตุอันดับ 2 รองจากการสู บ บุ ห รี่ แบ่งเป็น โ ร ค ห ล อ ด เ ลื อ ด ส ม อ ง 24 % ป อ ด อุ ด กั้ น เ รื้ อ รั ง 43% โ ร ค หั ว ใ จ ข า ด เ ลื อ ด 25% และ ม ะ เ ร็ ง ป อ ด 29 % และในทุกปีประชากรจำนวน 7 ล้านคน จะเ สี ย ชี วิ ตก่อนเวลาอันควรจากม ล พิ ษ ทางอากาศ

โดยเด็ก 0-5 ปี เ สี ย ชี วิ ต จากมลพิษทางอากาศ 5.7 แสนคนต่อปี และกระทบต่อพัฒนาการและความสามารถในการรับรู้ ทั้งนี้ในปี 2561 พบว่ามีการเ สี ย ชี วิ ตจากม ะ เ ร็ ง ป อ ด 1.8 ล้านคน และพบผู้ ป่ ว ย รายใหม่ 2.1 ล้านคน คิดเป็น 11.6% ของผู้ ป่ ว ย รายใหม่ทั้งหมด

นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้แทนราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า สิ่งที่ต้องแยกคือตื่นกลัวและตื่นตัว ความจริงเรื่อง PM2.5 ไม่ใช่ของใหม่ที่เพิ่งเกิดแต่มีหลายปีแล้ว แต่การตื่นตัวเฉพาะหน้าจะรับมืออย่างไร และระยะยาวจะทำอย่างไร ถ้าอากาศอยู่ในระดับสีส้มยาวทั้งปี ก็จะเท่ากับสูบบุหรี่ครึ่งซอง ระยะ 30 ปี ถ้าสีแดงก็จะเท่ากับสู บ บุ ห รี่ 1 ซอง ระยะเวลา 30 ปี


แต่กลุ่มที่น่าเห็นใจ คือ คนทำงานกลางแจ้ง อาทิ พ่อค้าแม้ค้า ตำรวจจราจร คนทำความสะอาด คนที่ขับรถสาธารณะ รปภ. โดยจะมีอาการตั้งแต่หอบ ความดับ จนไปถึงระยะยาวอั ม พ ฤ ก ษ์ อั ม พ า ต ดังนั้นเมื่อกลับบ้านใช้น้ำสะอาดล้างตาและล้างจมูก หากพบว่าดวงตาแดงมากๆ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที

น.ส.ช่อผกา วิริยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายต้นไม้ในเมือง กล่าวว่า ฝุ่นเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งสาเหตุคงไม่ใช่แค่การสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ โดยวิธีลงทุนถูกที่สุด

แต่ได้ผลสูงสุดในระยะยาว เป็นหนึ่งตัวช่วยแก้ไขได้ คือ ต้นไม้ในเมืองจะฟอกอากาศให้ดีขึ้น ควรมาช่วยกันเพิ่มต้นไม้ ถ้าเราไม่ปลูกต้นไม้ให้สัมพันธ์ต่อประชากร ปัญหาก็ยังคงอยู่ โดยไม้พุ่มจะกรองอากาศระดับล่าง และไม่ใหญ่จะกรองอากาศชั้นบน พร้อมเสนอแนวทาง 7 มาตรการ

1.หยุดตัดต้นไม้หัวกุด ให้ต้นไม้ที่มีได้แตกกิ่ง ก้าน ใบ

2.อบรมรุกขกร ทุกหน่วยงานและทุกบริษัทรับตัดต้นไม้

3.ดูแลระบบรากต้นไม้

4.วางแผนการปลูกเพิ่ม

5.เพิ่มมาตรการทางกฎหมาย ให้ต้นไม้เป็นสมบัติสาธารณะ

6.บูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง และ

7.เสนอคณะรัฐมนตรี เป็นหนึ่งในแผนระยะยางของชาติ เพราะการปลูกต้นไม้เราต้องคิดถึงคนที่ไม่มีความพร้อมที่จะรับมือกับฝุ่นบ้าง


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก tvpoolonline และ liekr.com
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น