งานบ้านเป็นหน้าที่ทุกคน ไม่ใช่แค่หน้าที่ของผู้หญิงเท่านั้น เราต้องเปลี่ยนความคิดกันได้แล้ว

Advertisements

งานบ้านเป็นหน้าที่ทุกคน ไม่ใช่แค่หน้าที่ของผู้หญิงเท่านั้น เราต้องเปลี่ยนความคิดกันได้แล้ว

ย้อนกลับไปในอดีตเราจะเห็นได้ว่าผู้ชายต้องเป็นฝ่ายนำ ผู้หญิงเป็นฝ่ายตาม แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยน การดำรงชีวิตของมนุษย์เราเปลี่ยนไป

ดังนั้นเรื่อง เ พ ศ นั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ผู้คนให้ความสำคัญเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว คนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในเรื่องความเสมอภาคและเท่าเทียมกันมากขึ้น อย่างเช่นประเทศไทยของเราเองก็เช่นกัน ที่ได้มีการรณรงค์ยุติความ รุ น แ ร ง ต่อผู้หญิง ภายใต้แนวคิด “งานบ้านเป็นหน้าที่ของทุกคน ทำได้ทุก เ พ ศ ”

20 พ.ย. ที่ผ่านมา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเนื่องในเดือนรณรงค์ยุติความ รุ น แ ร ง ต่อผู้หญิง ภายใต้แนวคิด “งานบ้านเป็นหน้าที่ของทุกคน ทำได้ทุก เ พ ศ ” เพื่อสร้างกระแสเชิญชวนคุณผู้ชายช่วยทำงานบ้าน ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแฟนหรือภรรยาฝ่ายเดียว หวังลดช่องว่างสร้างความเข้าใจที่ดีในครอบครัวและชีวิตคู่


ทั้งนี้ได้มีการเดินรณรงค์บริเวณป้ายรถเมล์ พร้อมเชิญชวนให้ผู้ชายโพสต์รูปทำงานบ้านติดแฮกแท็ก #Houseworkchallenge #งานบ้านเป็นของทุกคนทำได้ทุก เ พ ศ

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ปัญหาความ รุ น แ ร ง ในครอบครัวของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลจากข่าวหนังสือพิมพ์ จำนวน 10 ฉบับ

ในปีที่ผ่านมา พบว่า มีข่าวเกี่ยวกับความ รุ น แ ร ง ในครอบครัว จำนวน 623 ข่าว โดยเป็นข่าวการ ฆ่ า กันสูงที่สุด ร้อยละ 61.6 ซึ่งเกือบทุกประเภทข่าวความ รุ น แ ร ง ในครอบครัวมีความเชื่อมโยงกับการ ดื่ ม เ ค รื่ อ ง ดื่ ม แ อ ล ก อ ฮ อ ล์ จึงกล่าวได้ว่าเ ค รื่ อ ง ดื่ ม แ อ ล ก อ ฮ อ ล์ถือเป็นปัจจัยร่วมกระตุ้นให้เกิดปัญหาความ รุ น แ ร ง ในครอบครัว และมีส่วนทำให้ปัญหาทวีความ รุ นแ ร งเพิ่มมากขึ้น

“ปัญหา ค ว า ม รุ น แ ร ง ในครอบครัว ทุกคนในสังคมสามารถมีส่วนร่วมแก้ไขได้ เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวในครอบครัว อย่างการช่วยกันทำงานบ้าน เลี้ยงลูกดูแลลูก ถือเป็นการนำเรื่องที่เข้าใจง่าย ดูเหมือนใครๆก็ทำได้ แต่กระทบชิ่งไปถึงรากความคิดแบบชายเป็นใหญ่ ความ ไ ม่ เ ท่ า เ ที ย ม ร ะ ห ว่ า ง เ พ ศ อย่างเห็นได้ชัด งานบ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดความเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีของคนในครอบครัว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็กทั้งในครอบครัวและระบบการศึกษา ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งวิธีเพื่อนำไปสู่การ ยุ ติ ค ว า ม รุ น แ ร ง ในครอบครัว”
นางสาวรุ่งอรุณ กล่าว


นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นต่อการทำงานบ้านของกลุ่มผู้ชาย อายุ 18-50 ปี ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า ร้อยละ 54.9 มองว่าผู้ชายช่วยงานบ้านเป็นเรื่องที่ควรภาคภูมิใจ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ขณะที่ร้อยละ 16.9 ไม่เห็นด้วยต่อเรื่องนี้

ทั้งนี้เกินครึ่ง คือ ร้อยละ 53.5 มองว่าผู้หญิงที่ดีต้องทำงานบ้าน เป็นแม่ศรีเรือน อย่าให้บกพร่อง ซึ่งร้อยละ 47 มองว่าผู้ชายมีหน้าที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ที่น่าห่วงคือ 1 ใน 3 หรือ ร้อยละ 37.5 มองว่า แม้ผู้หญิงจะทำงานนอกบ้าน แต่งานบ้านก็ยังเป็นของผู้หญิงอยู่ดี อีกทั้งร้อยละ 33.2 ระบุว่า งานบ้านไม่ใช่หน้าที่ของผู้ชายแต่เป็นหน้าที่ของผู้หญิง

สำหรับข้อเสนอแนะต่อประเด็นงานบ้านนั้น ผู้ชายกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 74.2 มองว่า ครอบครัวมีส่วนช่วยในการปลูกฝังเรื่องการทำงานบ้านและสร้างทัศนคติที่ดีเรื่องความเสมอภาคระหว่าง เ พ ศ ตั้งแต่เด็กๆ ร้อยละ 73.3 ระบุว่า ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงให้งานบ้านเป็นงานของทุกคน และสามารถทำได้ทุก เ พ ศ ทุกวัย

“จากผลสำรวจสะท้อนว่า ผู้ชายบางส่วนยังมีความเชื่อที่ว่า งานบ้านเป็นหน้าที่ผู้หญิง ซึ่งสาเหตุมาจากความคิดแบบชายเป็นใหญ่ ถูกบอกถูกสอนว่าผู้ชายต้องเป็นผู้นำ ส่วนผู้หญิงต้องทำงานบ้าน เลี้ยงลูก หากปล่อยให้ผู้ชายทำจะเสียศักดิ์ศรี ดังนั้นคงต้องเริ่มจากจุดนี้ ให้เขามองว่าการทำงานบ้านผู้ชายต้องทำได้ มันไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหญิงฝ่ายเดียว ค่อยๆปรับเปลี่ยน เพื่อทำให้ ปั ญ ห า ค ว า ม ขั ด แ ย้ ง ค ว า ม รุ น แ ร ง ในครอบครัวลดลง

ทั้งนี้มูลนิธิฯ ตั้งใจรณรงค์แคมเปญนี้เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจ เกิดการเปลี่ยนแปลง งานบ้านไม่ใช่เรื่องของ เ พ ศ แต่เป็นของทุกคน ไม่จำเป็นต้อง แ บ่ ง เ พ ศ ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ไปทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ชายชุมชน พบว่าหลังจากได้ช่วยงานบ้านหลายรายเปลี่ยนไป ให้เกียรติผู้หญิงมากขึ้น ความสัมพันธ์ดีขึ้น ปัญหาต่างๆลดลง ซึ่งอยากให้ช่วยกันรณรงค์เรื่องนี้ รวมถึงภาครัฐต้องปรับหลักสูตรใหม่ สร้างความเท่าเทียม เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะขนาดรูปในหนังสือเรียนยังเป็นผู้หญิงที่ทำงานบ้านฝ่ายเดียวอยู่เลย”
นางสาวจรีย์ กล่าว


ด้าน นายไบรอน บิชอฟ ซึ่งมาพร้อมภรรยา ซินดี้ สิรินยา บิชอฟ ดารานางแบบ กล่าวว่า ตนเป็นผู้ชายธรรมดาทั่วไปที่เคยคิดว่าผู้ชายไม่ต้องทำงานบ้าน ไม่ต้องเลี้ยงลูก แต่เมื่อเห็นภรรยาเหนื่อยจากการทำงานนอกบ้าน ก็เริ่มพูดคุยกัน เพื่อที่จะได้รู้มุมมองความคิด เพราะนี่คือบ้านของเรา ครอบครัวของเรา แม้ว่าที่บ้านเราจะจ้างแม่บ้านมาดูแลงานบ้าน แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างให้ช่วยทำโดยเฉพาะการเลี้ยงลูก ถ้าหากเราช่วยกันทำงานบ้าน ช่วยเหลือกัน ช่วยกันเลี้ยงลูก จะช่วยทำให้ชีวิตครอบครัวดีขึ้น มีความสุขขึ้น เราเป็นผู้ชายที่อยากทำอะไรเพื่อภรรยาบ้าง และงานบ้านคือความท้าทาย

“เราอยากเป็นซุปเปอร์แมนในสายตาภรรยาและลูกๆ อะไรที่ทำให้ครอบครัวมีความสุขก็พร้อมทำให้”


ทั้งนี้สิ่งที่จะช่วย ยุ ติ ค ว า ม รุ น แ ร ง ภายในครอบครัวได้อีกอย่างหนึ่งคือ ต้องกล้าเปลี่ยนมุมมองความคิดและกล้าที่จะพูดคุยกันเพื่อครอบครัว ที่สำคัญการปลูกฝัง สอนให้ลูกๆ ได้รู้จักงานบ้านตั้งแต่เล็กๆเป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นพื้นฐานที่ดีของเขาวันข้างหน้า รวมไปถึงการเคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่นและตัวเอง การเคารพให้เกียรติกัน เราต้องชัดเจนในเรื่องนี้

    
ข้อมูลและภาพจาก khaosod, matichon
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น