คว่ำตายหงายเป็น ต้นตายใบเป็น พืชสมุนไพรชื่อแปลก ใบกินเป็นผักสดบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง แก้นิ่ว
Advertisements
คว่ำตายหงายเป็น ต้นตายใบเป็น พืชสมุนไพรชื่อแปลก ใบกินเป็นผักสดบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง แก้นิ่ว
คว่ำตายหงายเป็น หรือ ต้นตายใบเป็น ถือเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา และพบว่ามีการขึ้นกระจายทั่วไปในเขตร้อนของโลก รวมไปถึงในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา เป็นต้น
คว่ำตายหงายเป็น เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกตามบ้านที่มีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ใบนำมารับประทานสดร่วมกับลาบ ขณะที่เด็ก ๆ มักนิยมนำคว่ำตายหงายเป็นมาเล่น โดยเอาใบมาวางทับในหนังสือ เมื่อทิ้งไว้ไม่นานตรงขอบของใบก็จะมีรากงอกออกมา โดยไม่ต้องมีน้ำหล่อเลี้ยง
คว่ำตายหงายเป็น ชื่อวิทยาศาสตร์ Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.) จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน (CRASSULACEAE) มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น กะเร(ภาคใต้), ต้นตายใบเป็น นิรพัตร เบญจฉัตร(ภาคกลาง), ยาเท้า(อีสาน)
คว่ำตายหงายเป็น เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นมีความแข็งแรงมากและมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงประมาณ 0.4-1.5 เมตร และในใบพบสารหลายชนิด เช่น n-alkanes, n-alkanols, n-alhanols, Amyrin, Quercetin-3-diarabinsoside, Kaempferol-3-glucoside และวิตามินซี เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ต้นคว่ำตายหงายเป็น ยังมีประโยชน์ในทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เอาดอกไปไว้ในยุ้งข้าว บูชารถ ขึ้นบ้านใหม่ เอาใบใส่พานบายศรีสู่ขวัญบ่าวสาว ทำขวัญนาค และปลูกไว้เพื่อความเป็นมงคล
ส่วนในทางสมุนไพร ใช้ใบเผาไฟเล็กน้อย หรือตำพอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา ใบตำคั้นน้ำแก้บิด ขับปัสสาวะ โรคไขข้ออักเสบ ใบมีรสเย็นเฝื่อน พอกฝีแก้ปวด น้ำคั้นจากใบผสมการบูร ทาถูนวดแก้เคล็ดขัดยอก
สรรพคุณของต้นคว่ำตายหงายเป็น
ทั้งต้นและรากมีรสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและไต ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น เป็นยาฟอกเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี (ราก, ทั้งต้น)
คนเมืองจะใช้นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)
ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้ใบคว่ำตายหงายเป็นนำมาผสมกับก้านและใบขี้เหล็กอเมริกา ใบสับปะรด และแก่นสนสามใบ ต้มอบไอน้ำ ช่วยบำรุงกำลังสำหรับคนติดฝิ่น (ใบ)
รากนำมาตากแห้งใช้เป็นยาลดไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด (ราก, ทั้งต้น)
ใบใช้วางบนหน้าอกเป็นยารักษาอาการไอและอาการเจ็บหน้าอก บ้างใช้นำมาวางไว้บนศีรษะเป็นยาแก้ปวดหัว (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้คอบวม คอเจ็บ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำคั้นเอาน้ำมาอมกลั้วคอ (ทั้งต้น)
ตำรายาไทยจะใช้ใบนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้อหิวาตกโรค (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้อาการปวดกระเพาะ กระเพาะแสบร้อน ด้วยการใช้รากและใบสด นำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย ใช้รับประทาน (รากและใบ)
ใบนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว (ใบ)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบหรือรากสดนำมาตำพอกเป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด แผลโดนมีดบาด ช่วยสมานบาดแผล ทำให้แผลหายเร็ว (ราก, ใบ, ทั้งต้น)[
ใบหรือทั้งต้นใช้ตำพอกรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ชนิดไม่เป็นมาก) และผิวหนังไหม้ที่เกิดจากการถูกแดดเผา หรือใช้เฉพาะใบเอามาเผาไฟเล็กน้อยนำมาตำพอกก็ได้ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
ใบใช้ตำพอกเป็นยาฆ่าเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาตาปลา รักษาหูดที่เท้า (ใบ)
น้ำคั้นจากใบใช้หยดลงบนผิวหนังเพื่อรักษาโรคหิดและขี้เรื้อน (ใบ)
ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดอักเสบ ฟกช้ำบวม ขับพิษ ถอนพิษ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
น้ำคั้นจากใบใช้ผสมกับการบูร นำมาทาถูนวดแก้อาการเคล็ดขัดยอก แพลง กล้ามเนื้ออักเสบ และช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี หรือทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมาก ๆ หรือจะใช้รากหรือทั้งต้นสดนำมาตำพอกแก้อาการเคล็ดขัดยอกก็ได้ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
อ้างอิงข้อมูลบางส่วน https://medthai.com/ และ https://th.wikipedia.org/
Advertisements
Post a Comment