ประโยชน์ของหูกวาง เมล็ดมีโปรตีนทานได้ ช่วยแก้ขัดเบา แก้นิ่วได้

Advertisements

ประโยชน์ของหูกวาง เมล็ดมีโปรตีนทานได้ ช่วยแก้ขัดเบา แก้นิ่วได้ 

ต้นหูกวาง (Bengal almond, Indian almond, Olive-bark tree, Sea almond) เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย

ต้นหูกวาง เป็นพันธุ์ไม้ในป่าชายหาดที่พบขึ้นกระจายตามชายฝั่งทะเล และยังเป็นพืชทิ้งใบ โดยทั่วไปแล้วจะทิ้งใบ 2 ครั้ง ในรอบ 1 ปี หรือในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือยกุมภาพันธ์ และอีกช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งก่อนขจะทิ้งใบ ใบหูกวางจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง

ประโยชน์ของหูกวาง

เมล็ดหูกวางสามารถนำมารับประทานได้ และยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเราอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหูกวาง ต่อ 100 กรัม ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบไปด้วย พลังงาน 594 แคลอรี, น้ำ 4%, โปรตีน 20.8 กรัม, ไขมัน 54 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 19.2 กรัม, ใยอาหาร 2.3 กรัม, วิตามินบี1 0.32 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.08 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม, แคลเซียม 32 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 789 มิลลิกรัม, และธาตุเหล็ก 9.2 มิลลิกรัม เป็นต้น

เมล็ดสามารถนำเอาไปทำเป็นน้ำมันเพื่อนำไปใช้บริโภค (คล้ายน้ำมันอัลมอนด์) หรือทำเครื่องสำอางได้

เปลือกและผลมีสารฝาดมาก สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมย้อมสีผ้า ฟอกหนังสัตว์ และทำหมึกได้ ในอดีตมีการนำเอาเปลือกผลซึ่งมีสารแทนนินมาใช้ในการย้อมหวาย และได้มีการทดลองใช้ใบเพื่อย้อมสีเส้นไหม พบว่าสีที่ได้คือสีเหลือง สีเขียวขี้ม้า หรือสีน้ำตาลเขียว

ใบแก่นำมาแช่น้ำใช้รักษาบาดแผลของปลาสวยงาม อย่างเช่น ปลากัด ปลาหางนกยูงได้ อีกทั้งยังช่วยบำรุงสุขภาพปลาและสีสันของปลา ช่วยทำให้ตับของปลานั้นดีขึ้น จึงส่งผลให้ปลาแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้ปลาเป็นโรค (แต่ควรระมัดระวังเรื่องของยาฆ่าแมลงที่อาจพบได้ในใบหูกวาง) (รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ)

เนื้อไม้หูกวาง สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำบ้านเรือน หรือเครื่องเรือนได้ดี เพราะเป็นไม้ที่ไม่มีมอดและแมลงมารบกวน หรือนำมาใช้ทำฟืนและถ่านก็ได้



ในปัจจุบัน ต้นหูกวาง เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมาก เพื่อเป็นไม้ประดับตามข้างทางหรือตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ ริมถนน สวนป่า หรือปลูกในที่โล่งต่าง ๆ เป็นต้น โดยเป็นต้นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนแล้ง ทนน้ำขังแฉะ

แต่โดยมากจะนิยมปลูกเป็นไม้เพื่อให้ร่มเงามากกว่าเป็นไม้ประดับ เพราะมีกิ่งเป็นชั้น ๆ เรือนยอดหนาแน่น และหากต้องการให้ต้นหูกวางแผ่ร่มเงาออกไปกว้างขวาง ก็ต้องตัดยอดออกเมื่อได้เรือนยอดหรือกิ่งประมาณ 3-4 ชั้น ซึ่งจะทำให้เรือนยอดแตกกิ่งใบออกทางด้านข้าง (ไม่ควรนำมาปลูกใกล้บริเวณตัวอาคารบ้านเรือน เนื่องจากหูกวางเป็นไม้โตเร็ว รากจะดันตัวอาคารทำให้อาคารบ้านเรือนแตกร้าวเสียหายได้

ข้อควรระวัง : สำหรับผู้ที่เป็นภูมิควรระวัง เพราะอาจจะแพ้ละอองเกสรของต้นหูกวางได้

สรรพคุณของหูกวาง

ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)

ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (ใบ)

ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ (ใบ)

ใบใช้ผสมกับน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด นำมาทาหน้าอกจะช่วยแก้อาการเจ็บหน้าอก หรือใช้ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก (ใบและน้ำมันจากเมล็ด)

เปลือกมีรสฝาด สรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย (เปลือก)

ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด (ทั้งต้น)

ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)

ผลมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ผล)

ใบที่มีสีแดงจะมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)

ใบใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินอาหารและตับ (ใบ)



บางข้อมูลระบุว่าเมล็ดใช้รับประทานเป็นยาแก้ขัดเบา แก้นิ่วได้ (เมล็ด)

เปลือกใช้เป็นยาแก้ตกขาวของสตรี (เปลือก)

รากมีสรรพคุณช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาตามปกติ (ราก)

ช่วยรักษาโรคโกนีเรีย (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) (เปลือก)

เปลือกและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมาน (เปลือก,ทั้งต้น)

ใบใช้ผสมกับน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด เป็นยารักษาโรคเรื้อน (ใบและน้ำมันจากเมล็ด)

ใช้แก้โรคคุดทะราด (ทั้งต้น)

ใบมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)

ช่วยขับน้ำนมของสตรี (ทั้งต้น)


ส่วนบางข้อมูลระบุว่า ใบมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการผื่นคันตามผิวหนังและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังพบฤทธิ์ทางเภสัชว่า ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ แก้อาการปวด ลดอุณหภูมิภายในร่างกายหรือลดไข้ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว ควรนำมาใช้เป็นยาเฉพาะในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ (ข้อมูลจาก : เว็บไซต์โรงเรียนอุทัยวิทยาคม) ข้อมูลส่วนนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงนะครับ ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร


อ้างอิงข้อมูลบางส่วน https://medthai.com/
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น