“ผักแพว” สมุนไพรพื้นบ้าน มีดีกว่าที่คิดไว้
Advertisements
“ผักแพว” สมุนไพรพื้นบ้าน มีดีกว่าที่คิดไว้
ผักแพว พักพื้นบ้านที่หลายคนนำมาทานคู่กับอาหารหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น ซุปหน่อไม้ ลาบ ซึ่งนอกจากกลิ่นหอมและความอร่อยแล้ว ผักแพวยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง ผักแพว และโรคอื่น ๆ อีกด้วย
คนส่วนใหญ่นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาบริโภคเป็นผักสด รวมทั้งนิยมนำมาแกงกับปลา เพื่อดับกลิ่นคาว เป็นพืชที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเป็นสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการลดความอ้วน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ
นอกจากนี้ผักแพวยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้รักษาโsคและอาการต่างๆ ได้แก่ ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงประสาท ช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ รักษาปอด แก้ไอ แก้หอบหืด ช่วยในการขับถ่าย รักษาโsคกระเพาะ แก้ท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ เป็นต้น
ลักษณะของผัวแพว
– ต้นผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะ ๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ
– ใบผักแพว มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปหอกแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่แต่บางกว่า ขอบใบเรียบ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ก้านใบสั้นมีหู ใบลักษณะคล้ายปลอกหุ้มรอบลำต้นอยู่บริเวณเหนือข้อของลำต้น
– ดอกผักแพว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขๅวนวลหรือชมพูม่วง
– ผลผักแพว ผลมีขนาดเล็กมาก
สรรพคุณของผักแพว
– ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสsะหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยในการชะลอวัย (ใบ)
– ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)
– ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)
– ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
– ช่วยบำรุงประสาท (ราก)
– รสเผ็ดของผักแพวช่วยทำให้เลืoดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)
– ช่วยรักษาโsคหวัด (ใบ)
– ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
– ช่วยรักษาโsคปอด (ดอก)
– ช่วยรักษาหอบหืด (ราก)
– ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
– ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงถึง 9.7 กรัม ซึ่งจัดอยู่ในผักที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด 10 อันดับของผักพื้นบ้านไทย (ใบ)
– ผักแพวมีรสเผ็ดร้อน จึงช่วยแก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ, ยอดผักแพว) ใช้เป็นยาขับลมขึ้นเบื้องบน ช่วยให้เรอระบายลมออกมาเวลาท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– รากผักแพวช่วยรักษาโsคกระเพาะอาหาร (ราก) แก้กระเพาะอาหารพิกๅรหรือกระเพาะอักเสบ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ช่วยแก้ท้องเสีย อุจจาระพิกๅร (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ช่วยแก้อาการท้องรุ้งพุงมาน (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ใบผักแพวช่วยรักษๅโรคพยาธิตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน
– ลำต้นผักแพวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
– ราก ต้น ใบ และดอก นำมาปรุงเป็นยาได้ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ดอก, ต้น, ราก)
– ช่วยรักษๅโรคตับแข็ง (ใบ)
– ช่วยลดอาการอักเสบ (ใบ)
– ใบผักแพวใช้แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาคั้นหรือตำผสมกับเหล้ๅขๅว แล้วใช้เป็นยาทา (ใบ, ทั้งต้น)
– ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)
– ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)
– ช่วยแก้เส้นประสาทพิกๅร แก้เหน็บชาตามปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และอาการมือสั่น (ใบ, ดอก, ต้นราก)
– ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลืoดลมของสตรี (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ข้อควรรู้ ! : ผักแพวหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่สองชนิดที่ต่างกันแค่สีต้น คือ ผักแพวแดงและผักแพวขๅว เป็นสมุนไพรคู่แฝดที่นำมาประกอบเป็นจุลพิกัดหรือใช้คู่กันเป็นยาสมุนไพรจะมีฤทธิ์ยาแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นด้วย
ประโยชน์ของผักแพว
– รสเผ็ดของผักแพวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลืoด เหมาะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอหรือวันละไม่น้อยกว่า 3 ขีด
– ผักแพวมีวิตามินเอสูง จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี โดยมีวิตามินเอสูงถึง 8,112 หน่วยสากล ในขณะที่อีกข้อมูลระบุว่ามีมากถึง 13,750 มิลลิกรัม
– ผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด โดยมีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
– ผักแพวมีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี
– ผักแพวมีธาตุเหล็กสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง
– ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ประกอบอาหาร ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนาม หรือนำมาหั่นเป็นฝอย ใช้คลุกเป็นเครื่องปรุงสดประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม เป็นต้น
– ใบผักแพวนำมาใช้แกงประเภทปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นของเนื้อสัตว์หรือกลิ่นคาวปลาได้
Tip : การเลือกซื้อผักแพว ควรเลือกซื้อผักแผวสด หรือดูที่ความสดของใบเป็นหลัก ไม่เหี่ยวและเหลือง แต่ถ้ามีรอยกัดแทะของหนoนและเเมลงบ้างก็ไม่เป็นไร
ส่วนการเก็บรักษาผักแพวก็เหมือนกับผักทั่ว ๆไป คือเก็บใส่ในถุงพลาสติกแล้วปิดให้สนิท หรือจะเก็บใส่กล่องพลาสติกสำหรับเก็บผักก็ได้ แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผัก.
แหล่งที่มา : feedsod.com
Advertisements
Post a Comment