นอนดึก พฤติกรรมอันตราย รู้แล้วรีบเปลี่ยนด่วน ก่อนจะสายเกินแก้
Advertisements
นอนดึก พฤติกรรมอันตราย รู้แล้วรีบเปลี่ยนด่วน ก่อนจะสายเกินแก้
ในสังคมสมัยใหม่ ผู้คนส่วนใหญ่มักมี พฤติกรรมการ นอนดึก พักผ่อนไม่พอ อาจจะด้วยสาเหตุจากการทำงานหนัก หรือ
มีกิจกรรมสังสรรค์กับเพื่อนๆ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้จะส่งผลเสียกับสุขภาพในระยะยาว วันนี้จึงนำสาระความรู้เรื่องของการเข้านอนมาฝากค่ะ
ในธรรมชาติสมัยก่อน มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ชีวิตได้ดีในช่วงกลางวัน ออกหาอาหาร และ ทำกิจกรรมต่างๆ
แต่เวลากลางคืน เราไม่ได้ตาดีเหมือนนกฮูก หูได้ยินเสียงดีเหมือนแมว หรือ จมูกดมกลิ่นได้ดีแบบสุนัข ทำให้เรา
ต้องเข้าที่หลบซ่อน หาที่กำบัง เช่น ในถ้ำ เพื่อพักผ่อน ทำให้ร่างกายเราถูกกำหนดด้วยนาฬิกาชีวิต ตามแสงอาทิตย์ขึ้นลง
จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ 4 ทุ่ม เป็นต้นไป ร่างกายก็เริ่มที่จะทำงานได้น้อยลง และ ต้องการการพักผ่อนที่มากขึ้น
เวลาหลัง 5 ทุ่มเป็นต้นไป เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการ การพักผ่อนมากเป็นพิเศษ เพื่อฟื้นฟู และ ซ่อมแซม
เซลล์ส่วนต่างๆ กระบวนการเหล่านี้จะดำเนินไปตลอดทั้งคืนที่เรานอนหลับ และ สิ้นสุดลงตอนเช้า ที่เราตื่นนอนหรือ ตอนที่ดวงอาทิตย์ขึ้นนั่นเอง
ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันประสาทวิทยาก็บ่งชี้ไว้เช่นเดียวกันว่า
การเข้านอนเร็วตอน 22.00 น. ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้จริง แพทย์หญิงฐาปนี สมบูรณ์ แพทย์ชำนาญการสถาบันประสาทวิทยา ได้ให้ข้อมูลว่า
การนอนดึกจะส่งผลต่อสมอง หัวใจ และหลอดโลหิต ทำให้กระบวนการซ่อมแซมของร่างกายเกิดเสี ยสมดุล
แต่ถ้าหากเราสามารถเข้านอนเร็วได้ ก็จะทำให้ร่างกายของเรามีสุขภาพที่ดีได้ ด้วย 8 ข้อ ดังนี้
1 สมองจะสร้างเคมี ความสุข
เนื่องจากว่าเวลาที่เรานอน สมองจะสร้างสารเคมีความสุข หรือซีโรโทนิน จะหลั่งออกมา หากไม่ได้นอน
จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องอารมณ์ และพฤติกรรมตามมา ตัวอย่างเช่น เป็นโรคซึมเศร้า แต่ไม่ได้ระบุ
ว่าต้องเข้านอนเวลา 22.00 ตรง อาจจมีเลทบ้างนิดหน่อย แต่ไม่ก็ไม่ควรเกิน 23.00 น.
2 สร้าง เคมี หนุ่มสาว
โกรทฮอ ร์โม น 70% จะหลั่งในขณะที่เรากำลังหลับ และอีก 30% ตอนที่เราออกกำลังกาย ซึ่งตัวฮอ ร์โม น
นี้จะหลั่งตอนเรานอนช่วงเวลาเที่ยงคืน หรือ ตี1 ครึ่ง เพราะฉะนั้นเราควรจะหลับก่อนหน้านั้น อาจจะเข้านอน
สักตอน 23.00 น. เพื่อให้การนอนหลับของร่างกายตรงกับช่วงเวลาที่ โกรทฮอ ร์โม นหลั่งพอดี
3 ความจำดีขึ้น
เนื่องจากกระบวนการจำ ต้องอาศัยการนอน เพื่อให้สิ่งที่เราได้เรียนรู้มา เข้าไปฝังในสมองตอนที่เราได้รับการพักผ่อน
หรือนอนหลับ ทำให้จำสิ่งที่ได้เห็น ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆเข้ามานั่นเอง ดังนั้นการนอนเร็วขึ้นก็จะช่วยให้ความจำดีขึ้นตามไปด้วย
4 ช่วยคุมความดันโลหิตได้
การนอนมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิต และระบบต่างๆของร่างกายเป็นไปอย่างสมดุล แต่สิ่งสำคัญคือ
การนอนอย่างมีคุณภาพ ไม่ได้เน้นที่การนอนหลับเร็ว แต่เป็นการนอนที่ไม่มีสิ่งมารบกวน เช่น การนอนกรน
นอนหลับๆตื่นๆ ทำให้คุณภาพการนอนที่ดีเสี ยไป
5 ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
แน่นอนว่าการนอนหลับ เป็นการที่ร่างกายได้หยุดทำงาน และได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ
จะทำให้เกิดการซ่อมแซมของร่างกาย แต่จะเกิดขึ้นแค่ช่วหนึ่งของการนอนที่หลับลึกช่วงครึ่งคืนแรก ร่างกายได้รับการฟื้นฟู
6 ลดความเสี่ยงโรคอ้วน
ในช่วงที่เรานอนหลับ จะหลั่งโกรทฮอร์โม นออกมา และช่วยให้เราเผาพลาญ พลังงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดโอกาส
ในการเกิดโรคเบาหวาน ได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเรานอนเร็วแล้ว จะทำให้เราไม่หิวในช่วงดึก
จนต้องหาอะไรมาใส่ท้องเพิ่มนั่นเอง
7 ทำให้มีความสุขมากขึ้น
การที่เราได้นอนเร็ว นอนอย่างเต็มอิ่ม ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ตื่นมาก็จะทำให้รู้สึกสดชื่น ความจำดี
มีสมาธิ จะทำอะไรก็รู้สึกดีไปหมด ทำให้มีความสุขมากขึ้น ต่างจากการที่ร่างกายขาดการพักผ่อน
หรือพักผ่อนน้อย ก็จะหงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย
8 ป้องกันความเสื่อมชรา
เคยได้ยินไหม ถ้าไม่อยากแก่ ให้รีบนอนตั้งแต่หัวค่ำ เพราะการนอนจะทำให้ร่างกายของเราได้รับการฟื้นฟู
ได้ขับถ่ายของเสีย แต่สำหรับใครที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเข้างานกะดึก สิ่งที่ควรทำคือ การออกกำลังกาย
และนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ ให้ตัวเองสามารถนอนหลับลึกได้ ก็ช่วยได้เช่นกัน
รู้แบบนี้แล้ว ก็รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนดึก ให้เข้านอนได้เร็วขึ้นกันดีกว่าค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของเราในระยะยาว
และบอกต่อเรื่องราวดีๆแบบนี้ให้กับคนที่คุณรัก
แหล่งที่มา : bitcoretech.com
Advertisements
Post a Comment