หลายคนเป็นแบบนี้บ่อย ปวดหัวข้างขวา ปวดหัวข้างซ้าย สาเหตุและวิธีแก้ที่คุณต้องรู้

Advertisements

หลายคนเป็นแบบนี้บ่อย ปวดหัวข้างขวา ปวดหัวข้างซ้าย สาเหตุและวิธีแก้ที่คุณต้องรู้

เคยไหม? ปวดศีรษะข้างขวา, ปวดศีรษะข้างขวาจี๊ดๆ, ปวดศีรษะข้างขวาท้ายทอย หรือปวดศีรษะข้างซ้าย คุณรู้หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้ถึงแม้จะดูเล็กน้อย แต่สามารถส่งผลให้มีปัญหาหลายอย่างตามมาทั้งด้านจิตใจ และร่างกาย

วันนี้มาทำความรู้จักกับสาเหตุของการปวดศีรษะข้างขวาหรือปวดข้างซ้าย และวิธีแก้การต่างๆ เบื้องต้น ที่คุณควรรู้ เพื่อป้องกันปัญหากันค่ะ
อาการปวดศีรษะข้างเดียว ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดศีรษะข้างขวาหรืออาการปวดศีรษะข้างซ้ายก็ตาม ผู้คนส่วนใหญ่มักจะละเลยเพราะคิดว่าเดี๋ยวก็หายไปเองได้ แต่อันที่แท้จริงแล้วอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของร่างกาย และยังเป็นอาการของโรคไมเกรนอีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการปวดศีรษะนี้

สาเหตุของอาการปวดศีรษะข้างขวา หรืออาการปวดศีรษะข้างซ้าย

อาการปวดศีรษะข้างเดียวจะมีลักษณะการปวดที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นอาจจะมีอาการปวดตุ้บๆ ที่ท้ายทอยหรือมีอาการปวดหัวข้างขวาด้านหลัง ซึ่งอาการปวดศีรษะแต่ละแบบก็มีสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน บางคนคิดว่าอาการปวดหัวข้างเดียวนั้นคืออาการของโรคไมเกรน แต่เราจะแบ่งสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้ดังต่อไปนี้

ปวดศีรษะไมเกรน เป็นลักษณะการปวดศีรษะที่พบบ่อย โดยจะรู้สึกปวดที่ขมับข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะมีอาการปวดที่เบ้าตา หน้าผาก และต้นคอร่วมด้วยก็ได้

ปวดศีรษะ SUNCT หรือ Short – lasting Uni lateral Neuralgiform Headache attack with Conjunctival injection and Tearing) คืออาการปวดศีรษะข้างเดียวที่มีลักษณะของการปวดที่เส้นประสาท ตาแดง และมีน้ำตาไหล

ปวดศีรษะข้างเดียวแบบปวดเส้นประสาท มักจะมีอาการปวดร่วมกับอาการระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติที่เรียกว่า SUNA หรือ Short – lasting Unilateral Neuralgiform with cranial Autonomic features

ปวดศีรษะคลัสเตอร์ เป็นอาการปวดหัวข้างขวาหรืออาการปวดหัวข้างซ้ายที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่ามีอาการปวดหัวในแต่ละครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง โดยจะเกิดขึ้นในเวลาเดิมๆ ของแต่ละวัน และอาจจะมีอาการปวดขมับหรือเบ้าตาร่วมด้วย

อาการปวดศีรษะข้างเดียวแต่ละแบบมีอาการอย่างไร

อาการปวดศีรษะข้างเดียวทั้งอาการปวดศีรษะข้างขวาหรืออาการปวดศีรษะข้างซ้าย ส่วนใหญ่ที่พบได้มากคือมีอาการปวดที่ขมับ หน้าผาก เบ้าตา และรอบๆ บริเวณตา โดยจะรู้สึกปวดเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งเราควรสังเกตอาการปวดศีรษะให้ละเอียดว่ารู้สึกปวดที่ตำแหน่งใดบ้าง เพราะเมื่อเราไปพบแพทย์จะได้บอกรายละเอียด เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและทำการรักษาได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

อาการปวดศีรษะ

อาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ SUNCT อาการปวดศีรษะ SUNA และอาการปวดศีรษะคลัสเตอร์

อาการปวดศีรษะแบบตลอดเวลา ได้แก่ อาการปวดศีรษะ SUNCT ในผู้ป่วยบางราย และผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวข้างขวาหรือข้างซ้ายแบบไม่เปลี่ยนข้างตลอดเวลา หรือ Hemicranial continua

ลักษณะอาการปวดศีรษะ

รู้สึกปวดตุ้บๆ ได้แก่ อาการปวดไมเกรน อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์

รู้สึกปวดตื้อแบบตุ้บๆ ตลอดเวลา ได้แก่ อาการปวดศีรษะข้างเดียวแบบไม่เปลี่ยนข้างตลอดเวลา

รู้สึกปวดแบบเสียวแปล๊บๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ SUNCT อาการปวดศีรษะ SUNA

อาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ตาบวม น้ำตาไหล ลืมตาลำบาก ตาแดง และมีน้ำมูกไหล เป็นต้น


วิธีแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว

เมื่อเราทราบถึงสาเหตุและอาการหรือลักษณะของอาการปวดศีรษะข้างขวาหรืออาการปวดศีรษะข้างซ้าย ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ต่อไปจะเป็นวิธีการรักษาหรือวิธีแก้อาการปวดศีรษะที่จะช่วยให้ทุเลาลงได้ ตามลักษณะของอาการปวดศีรษะแต่ละแบบ

อาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียวที่อาจจะเกิดขึ้นกับด้านใดก็ได้ ซึ่งเราสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ เช่น ไอบูโพรเฟน ทริปเทนต์ และยาประเภทอะซีตะมิโนเฟน (Acetaminophen) แต่ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยโรคและการรักษาจากแพทย์โดยตรงก่อน เพื่อให้การใช้ยาเป็นไปอย่างถูกต้องตามอาการที่เกิดขึ้น และทำให้อาการของโรคดีขึ้นอีกด้วย

อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการปวดศีรษะที่ไม่รุนแรงมาก แต่ก็ควรรับประทานยาหรือได้รับการรักษาด้วยเช่นกัน โดยรับประทานยาที่ใช้รักษาโรคไมเกรนอย่างเช่นยาคาร์เฟอร์ก็อต หรือใช้ยากลุ่มทริปเทนต์ และยังสามารถใช้วิธีการสูดดมออกซิเจนบริสุทธิ์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดนี้ได้เช่นกัน

อาการปวดศีรษะ SUNCT หรือ SUNA เป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียวที่มีความเกี่ยวข้องกับเส้นประสาท ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาประเภทสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้ออย่างเช่นยาเพร็ดนิโซโลน ยากลุ่มจิตเวชประเภทยากันชักอย่างเช่นยาคาร์บามาซีปีนหรือยาลามิคทอล ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาเฉพาะทางในลำดับต่อไป

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียว อย่างเช่นกลิ่นน้ำหอม บริเวณที่มีแสงจ้ามากๆ แสงกะพริบๆ ตลอดเวลา หรือบริเวณที่มีเสียงดังอึกทึกครึกโครม หยุดการทำงานหนักแบบหักโหม หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงมลพิษและสารเคมี ไม่เล่นกีฬาที่หนักเกินไป แต่ควรเลือกกีฬาที่เบาๆ

นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอด้วยการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพการนอนที่ดี อย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง โดยทำให้ห้องนอนมีความเงียบสงบ และมีอุณหภูมิห้องที่เหมาะสม ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป

อาการปวดศีรษะข้างขวาหรืออาการปวดศีรษะข้างซ้าย เป็นอาการปวดศีรษะที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานใช้ความคิดหรือการคำนวณ และยังเป็นอาการเตือนของโรคอื่นๆ จากร่างกายอีกด้วย

ดังนั้นเมื่อเริ่มมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างร้ายแรงได้
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น