ขิง สมุนไพรเครื่องเทศช่วยกำจัดเซลลูไลต์ ขัดผิวแตกลาย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
Advertisements
ขิง สมุนไพรเครื่องเทศช่วยกำจัดเซลลูไลต์ ขัดผิวแตกลาย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ขิง นอกจากเป็นสมุนไพรเครื่องเทศที่นำมาปรุงอาหารไทยให้มีกลิ่นหอมและรสชาติดีแล้ว ขิง ยังมีสรรพคุณทางยาในด้านการรักษาโรคได้ เช่น โรคท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม เป็นต้น นอกจากนี้ขิงยังมีประโยชน์ในด้านความสวยความงาม
ปัจจุบันจะเห็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่แปรรูปมาจากขิง เช่น สบู่ขิง ผงขัดหน้า หรืออาหารเสริมจากขิง เป็นต้น ขิงมีส่วนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดลมดี เชื่อว่าเมื่อเลือดลมดี ย่อมทำให้ผิวพรรณภายนอกดี เปล่งปลั่งสดใส
สารอาหารสำคัญในขิง
ขิง เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมด้วยสารอาหาร เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี โปรตีน แคลเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม ทางการแพทย์จีนใช้ประโยชน์จากขิงในการรักษาไข้หวัด วิงเวียนศีรษะคลื่นไส้ และอาหารไม่ย่อย ส่วนทางตำรับยาไทยโบราณใช้ลดอาการแพ้ท้องของสตรีมีครรภ์ ช่วยขับน้ำนมให้แก่สตรีให้นมบุตรและช่วยการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร ใช้รากขิงที่มีสารซินกิเบียน (Zingibain) เพื่อช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง
ประโยชน์ของขิง
ผิวแตกลาย หรือ เซลลูไลต์ เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของผิวหนังมากเกินไป ส่วนใหญ่เกิดกับคนอ้วนและสตรีมีครรภ์ ผิวแตกลายยังไม่พบว่าส่งผลอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย เว้นเสียแต่ทำให้ผู้ที่มีผิวแตกลายเสียความมั่นใจ ขิงสามารถช่วยบรรเทาให้ผิวแตกลายนั้นจางลงได้
จากการศึกษาวิจัยของญี่ปุ่นยืนยันว่าขิง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และเป็นสมุนไพรที่ช่วยทำความสะอาดผิว สารเคมีที่อยู่ในขิง camphorc และ turpentine ช่วยต้านฤทธิ์แบคทีเรีย ช่วยป้องกันโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และช่วยกระจายตัวไขมันเซลลูไลต์
สูตรขิงขัดผิวแตกลาย
ส่วนผสม
ขิงสดขูดฝอย 1 เหง้า
ผิวขาวบางผืนเล็ก 1 ผืน
วิธีทำ
นำขิงขูดฝอยใส่ลงในผ้าขาวบางห่อใช้ยางรัดให้ดี เพื่อไม่ให้ขิงขูดหลุดออกมา ใช้ตอนเวลาอาบน้ำ ขัดตัว ถูนวดบริเวณที่มีผิวแตกลาย ทำเป็นประจำต่อเนื่อง
สรรพคุณ
ขิงช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิต ทำให้ไขมันที่บริเวณผิวแตกลายกระจายตัว ทำให้ผิวบริเวณนั้นจางลง และค่อย ๆ คืนความเนียนเรียบให้แก่ผิว
ข้อควรระวัง
ขิงเมื่อใช้เป็นยาภายนอกยังไม่พบอันตราย แต่การบริโภคหรือดื่มน้ำขิงจะช่วยเพิ่มน้ำดี จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีและหากใช้มากเกินไปอาจทำให้ท้องอืดเฟ้อ ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และอาหารไม่ย่อยได้ สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ
ที่มา...https://prayod.com/
Advertisements
Post a Comment