ประโยชน์ของยอดอ่อนและดอกเพกา หมากลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านรสขมอ่อนๆ ช่วยต้านมะเร็งได้ดีมาก

Advertisements

ประโยชน์ของยอดอ่อนและดอกเพกา หมากลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านรสขมอ่อนๆ ช่วยต้านมะเร็งได้ดีมาก

เพกา ผักสมุนไพรมากสรรพคุณทางยาที่พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วๆไป โดยมีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยด้วย ชื่อสามัญ (Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE) แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก)

ยอดและดอกอ่อนของเพกา นิยมนำมารับประทานเป็นผัก โดยนำมาต้มหรือลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย หรือ ยำ ซึ่งดอกของเพกานั้นมีลักษณะเป็นดอกช่อแบบกระจะ ก้านช่อดอกยาว สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้างกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยติดคงทนจนเป็นผล กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด

ส่วนที่อยู่บนมี 2 กลีบ เนื้อกลีบพับย่น สีแดงเลือดหมู เกสรเพศผู้มี 5 อัน โดยมี 1 อันเป็นหมันซึ่งก้านชูอับเรณูจะสั้น ส่วนอีก 4 อัน เป็นแบบ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน ติดบนหลอดกลีบดอกด้านใน อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูแบบถ่าง เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ กานเรียงพลาเซนตาเป็นแบบพลาเซนตารอบแกนร่วม

ทั้งนี้ ยอดและดอกอ่อนของเพกา มีรสขมอ่อนๆ คล้ายใบยอ ชาวบ้านนิยมนำมารับประทานดิบหรือลวก ย่างไฟ หรือเคี่ยวหัวกะทิข้นๆ ราดไปบนยอดดอกอ่อน กินคู่กับน้ำพริก ซุปหน่อไม้ และเมนูลาบต่างๆเช่นกัน เมื่อรับประทานจะให้รสขม และกรอบเช่นกับเหมือนกับฝักอ่อน ทั้งนี้ ใบอ่อน และยอดอ่อน มักไม่นิยมเด็ดมารับประทานมากนัก เพราะจำเป็นให้ยอดเติบโต และติดดอก แต่มักเด็ดเพื่อให้ลำต้นแตกกิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น



แม้แต่ดอกบานก็ได้รับความนิยมรับประทานไม่แพ้ฝักอ่อน และยอดอ่อน ซึ่งจะใช้เฉพาะดอกบานที่ร่วงจากต้นแล้ว ไม่ใช่ดอกที่ติดบนช่อดอก ทั้งนี้ ดอกบานดังกล่าวนิยมนำมาลวกเท่านั้น สำหรับรับประทานคู่กับอาหารที่กล่าวข้างต้น เนื้อดอกเมื่อลวกแล้วจะมีความนุ่ม และให้รสขมน้อยกว่าฝักอ่อน และยอดอ่อน ถือได้ว่าเป็นส่วนที่อร่อยมากที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการ ในยอดอ่อน 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี โปรตีน 6.4 กรัม ไขมัน 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 13.0 กรัม วิตามินบี1 0.18 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.69 มิลลิกรัมและวิตามินบี3 2.4 มิลลิกรัม นอกนั้นเป็นเถ้าและน้ำ

ประโยชน์ของยอดอ่อนและดอกเพกา 

ช่วยต้านและรักษามะเร็ง

ช่วยย่อยและเจริญอาหาร

ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด

ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด

แก้อาการอาหารเป็นพิษ แก้อาการท้องเสีย

ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด

รักษาแผลในช่องปาก

ช่วยขับลมในลำไส้

ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม

ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม

ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ขับลม บรรเทาอาการปวดไข้ และยังช่วยให้เจริญอาหารด้วย



สิ่งที่ควรระวัง - หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก


อ้างอิง https://th.wikipedia.org/ และ https://medthai.com/

Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น