ชะมวง ส้มโมง ผลสุกรสเปรี้ยวอมหวาน ยอดอ่อน ใบอ่อนใช้จิ้มน้ำพริก กินบ่อยๆช่วยฟอกโลหิต

Advertisements

ชะมวง ส้มโมง ผลสุกรสเปรี้ยวอมหวาน ยอดอ่อน ใบอ่อนใช้จิ้มน้ำพริก กินบ่อยๆช่วยฟอกโลหิต

ชะมวง ส้มโมง เป็นผักมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบและผลรสเปรี้ยว สามารถพบได้มากทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย โดยใบมีรสเปรี้ยวนิยมนำไปใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทางภาคตะวันออกใช้ปรุงรสเปรียวในหมูชะมวง ทางภาคใต้ นำไปใบใส่ปรุงรสเปรี้ยวในต้มเนื้อชะมวง

ชะมวง (Cowa) ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy จัดอยู่ในวงศ์มังคุด CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE  ชะมวง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มป้อง มะป่อง (คนเมือง), หมากโมก (อุดรธานี), มวงส้ม (นครศรีธรรมราช), กะมวง มวง ส้มมวง (ภาคใต้), กานิ (มลายู-นราธิวาส), ตระมูง (เขมร), ยอดมวง, ส้มม่วง, ส้มโมง, ส้มป่อง เป็นต้น

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.monmai.com/

ส่วนผลชะมวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน มีขนาดประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงส้มหม่น และตามผลมีร่องตื้น ๆ ประมาณ 5-8 ร่อง ด้านบนปลายบุ๋ม และมีชั้นกลีบเลี้ยงประมาณ 4-8 แฉกติดอยู่ เนื้อหนา สีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 4-6 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีหนา เรียงตัวกันเป็นวงรอบผล ผลสุกมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานได้ แต่มียางมากและทำให้ติดฟันได้ โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของชะมวง

ช่วยฟอกโลหิต (ผลอ่อน, ใบ) แก้โลหิต (ใบ)

ช่วยรักษาธาตุพิการ (ผล,ใบ,ดอก)

ราก ใบ และผลอ่อนมีรสเปรี้ยว เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน (ผลอ่อน, ใบ, ดอก, ราก)

ช่วยถอนพิษไข้ (ราก)

ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก)

ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผล, ใบ)

ช่วยแก้อาการไอ (ผล, ใบ) บ้างก็ว่าเนื้อไม้ช่วยแก้อาการไอได้เช่นกัน (เนื้อไม้)

ช่วยแก้เสมหะ กัดเสมหะ กัดฟอกเสมหะ (ผลอ่อน, ใบ, ดอก, ราก) เสมหะเป็นพิษ (ราก) ช่วยขับเสมหะ (เนื้อไม้)

ใช้เป็นยาระบายท้อง (ผลอ่อน, ใบ, ดอก) ส่วนตำยาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากชะมวง ผสมกับรากกำแพงเจ็ดชั้น รากตูมกาขาว และรากปอด่อน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย (ราก) บ้างก็ว่าเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน (เนื้อไม้)

ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)

รากช่วยแก้บิด (ราก) หรือจะใช้ผลนำมาหั่นเป็นแว่นตากแห้ง ใช้ดินเป็นยาแก้บิดก็ได้เช่นกัน (ผล)

ใบชะมวงใช้ผสมกับยาชนิดอื่น ๆ ใช้ปรุงเป็นยาขับเลือดเสีย (ใบ)

ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)

ช่วยแก้ดีพิการ (ดอก)

แก่นใช้ฝนหรือแช่กับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการเหน็บชา (แก่น)

เมื่อไม่นานมานี้ (ก.พ. 56) ได้มีการค้นพบสารชนิดใหม่จากใบชะมวง และได้มีการตั้งชื่อว่า “ชะมวงโอน” (Chamuangone) ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งได้ดี (ทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอดและเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว) ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร (เชื้อ Helicobacter pylori) ช่วยยับยั้งเชื้อโพรโทซัว Leishmania major (เป็นโรคระบาดที่เคยพบในภาคใต้) ได้เป็นอย่างดี


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bsru.ac.th/

ประโยชน์ชะมวง

ผลชะมวงสุกสีเหลืองใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน หรือจะนำผลมาหั่นเป็นแว่นตากแดดใส่ปลาร้าเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้

ยอดอ่อนหรือใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น

ผลและใบอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน โดยจะมีรสเปรี้ยวคล้ายกับมะดัน (การรับประทานมาก ๆ จะเป็นยาระบายท้องเหมือนดอกขี้เหล็ก)

ผลและใบแก่เมื่อนำมาหมักจะให้กรด ซึ่งนำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควายที่ใช้แกะสลักรูปหนังตะลุงได้เป็นอย่างดี

ต้นชะมวงสามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มเงาได้ดี

ลำต้นหรือเนื้อไม้ชะมวงสามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ฯลฯ

เปลือกต้นและยางของต้นชะมวงจะให้สีเหลืองที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้า

น้ำยางสีเหลืองจากต้นชะมวง สมัยก่อนนำมาใช้ผสมในน้ำมันชักเงา

ยอดอ่อนชะมวงเมื่อนำไปหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืชได้ เช่น เพลี้ย


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bsru.ac.th/

อ้างอิงข้อมูลบางส่วน https://medthai.com/ และ https://th.wikipedia.org/
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น