ผักเบี้ยหิน (ผักโขมหิน) ผักสมุนไพรกินลวกจิ้มกับน้ำพริก เป็นยาบำรุง ขับลม ขับเสมหะ

Advertisements

ผักเบี้ยหิน (ผักโขมหิน) ผักสมุนไพรกินลวกจิ้มกับน้ำพริก เป็นยาบำรุง ขับลม ขับเสมหะ

ผักเบี้ยหิน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (ดอก) ช่วยขับโลหิต (ดอก) ต้นมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ต้น) ต้น ราก ใบ และดอกมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะ (ต้น,ราก,ใบ,ดอก,ทั้งต้น) ช่วยทำให้คลื่นไส้อาเจียน

ส่วน(ต้น) ต้น ราก และใบ มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม ขับลม ทำให้เรอ (ต้น,ราก,ใบ,ทั้งต้น) ดอกมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมอัณฑพฤกษ์ (ดอก) ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ดอก) ต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ต้น) ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น, ดอก)

ผักเบี้ยหิน ใช้ปรุงเป็นอาหารหรือรับประทานสดแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา แก้เหงือกบวม แก้เจ็บคอ ขับระดูขาว และใช้ทาภายนอกแก้แผลอักเสบ เป็นต้น

ผักเบี้ยหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trianthema portulacastrum Linn.
วงศ์ : AIZOACEAE
ชื่ออื่น ๆ : ผักโขมหิน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก ฤดูเดียว เลื้อยทอดไปบนพื้นดิน ยาวถึง 1 เมตร ไม่มีรากงอกจากข้อ ลำต้นกลมสด อวบน้ำ สีเขียวแกมม่วง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2-5 มม. ผิวลำต้นเรียบ เป็นมัน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้าม ใบรูปไข่ กลม รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบมน ขอบ ใบเรียบ มีเส้นสีม่วงตามแนวขอบใบ ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ใบกว้าง 1-4.5 ซม. ยาว 1.5-5 ซม. ก้านใบยาว 5-12 มม. ก้านใบเป็นร่องเล็กๆด้านบน ใบและยอดอ่อนอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย

ดอก เป็นดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ ด้านซ้ายหรือขวาสลับกันในแต่ละข้อ ดอกฝังตัวในหลอด กลีบที่เชื่อมติด กับโคนก้านใบในซอกใบ ไม่มีก้านดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบาน 4-5 มม. ข้างๆหลอดกลีบมี ใบประดับ 2 อัน สีม่วง แกมเขียว รูปสามเหลี่ยมกว้าง 1-2.5 มม. ยาว 3-4 มม. หลอดกลีบสีม่วงแกมเขียว ติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 มม. ไม่ ร่วง กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูอ่อนหรือชมพูแกมขาว แยกกัน กลีบรูปขอบ
ขนานปลายแหลม กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 2- 3 มม. ตอนปลายกลีบเป็นติ่งแหลมสีม่วง เกสรเพศผู้ จำนวนมาก ติดบนกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสีขาวยาว 2-3 มม. อับเรณูสีชมพู เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary มีก้านเกสรเพศเมียยาว 3 มม. ยอดเกสรเป็นเส้น รังไข่รูป ทรงกระบอก 1 ห้อง ออวุล 2-8 อัน axile placentation

ผลและเมล็ด ผลแห้งแบบ turbinate ติดที่ซอกใบภายในหลอดกลีบ เมล็ดกลมหรือรี ค่อนข้างแบน สี ดำ เส้นผ่าศูนย์กลางเมล็ด 1-1.5 มม. จำนวน 2-8 เมล็ด

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชื้นปานกลาง

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


สรรพคุณทางสมุนไพร

ทั้งต้น ไทยใช้เป็นยาแก้ฟกบวม บำรุงโลหิต ขับลม ในประเทศอินเดีย ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ โรคท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นโรคไต
ราก แก้ลมอัณฑพฤกษ์ เจริญไฟธาตุ ขับเสมหะ และริดสีดวงทวาร ทำให้ประจำเดือนมาปกติและ เป็นยาถ่าย
ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งต้น)
รากมีสรรพคุณช่วยเจริญธาตุไฟ (ราก)
ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์ (ราก)
รากใช้เป็นยาขับเสมหะ (ราก)
ช่วยแก้อาการเจ็บ แก้เหงือกบวม (ใบ)
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับลม (ทั้งต้น)
ช่วยแก้โรคท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (ทั้งต้น)
รากมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ราก)
ในประเทศอินเดียจะใช้ทั้งต้นปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ใบ)
รากใช้เป็นยาช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาเป็นปกติ แต่ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้แท้งบุตรได้ (ราก)
ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
ใช้รักษาโรคไต (ทั้งต้น)
ใบใช้เป็นยาทาภายนอกแก้แผลอักเสบ (ใบ)
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ฟกบวม (ทั้งต้น)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเบี้ยหิน‬
จากการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผักเบี้ยหินกับหนูทดลอง โดยแบ่งหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่รักษาด้วยยามาตรฐานซึ่งใช้ลดน้ำตาลในเลือด (glibenclamide) ในขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนอีก 2 กลุ่มให้สารสกัดเมทานอลของผักเบี้ยหิน ขนาด 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ

ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเมทานอลของผักเบี้ยหินสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทได้อย่างมี นัยสำคัญ หลังกินเข้าไป 1 ชั่วโมง และจะออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลได้ดีที่สุดหลังกินเข้าไป 4 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้เทียบเท่ากับการรักษาโดยใช้ยามาตรฐานที่ใช้ลดน้ำตาลในเลือด (glibenclamide)


ข้อควรระวัง ผู้หญิงที่กำลังมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้แท้งได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักขมหิน

สารสำคัญที่พบ ได้แก่ alanine, arachidic acid, aspartic acid, behenic acid, boeravinone A, B, C, D, E, borhavine, flavone, glutamic acid, histidine, leucine, methionine, oleic acid, oxalic acid, palmitic acid, proline, punarnavine, serine, theonine, tyrosine, ursolic acid, valine, xylose

ผักขมหินมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ต้านการชัก ช่วยขับปัสสาวะ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดบิลิรูบินในพลาสมา

จากการทดลองโดยใช้สารสกัดทั้งต้นด้วยน้ำและเอทานอล นำมาฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

จากการศึกษาฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์และฤทธิ์ต้านเอสโตรเจนของผักขมหิน ในเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF-7 โดยทดสอบกับสารสกัดเมทานอลของผักขมหิน (BME) ความเข้มข้นตั้งแต่ 20 – 320 มคก./ล. พบว่าสารสกัดดังกล่าว มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ MCF-7 ได้ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับสูง และ BME สามารถเข้าแย่งจับกับตัวรับเอสโตรเจนแบบแข่งขันกับสาร [3H]-estradiol และพบว่า BME ลดการแสดงออกของยีน pS2 ซึ่งบ่งบอกถึงฤทธิ์ต้านเอสโตรเจน นอกจากนี้ยังทำให้เซลล์ MCF-7 อยู่ในช่วง G0 – G1 ของวัฏจักรของเซลล์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ช่วงอื่น ๆ ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิด cell cycle arrest ที่ระยะ G0-G1 จากผลการทดลองจึงสามารถสรุปได้ว่าผักขมหินน่าจะมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้องกับผลของเอสโตรเจน

จากการทดสอบความเป็นพิษ โดยใช้สารสกัดทั้งต้นด้วยน้ำและเอทานอล พบว่าในขนาดสูงสุดที่สัตว์ทดลองทนได้คือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม ถ้าใช้สารสกัดจากรากด้วยน้ำ พบว่าขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่ง (LD50) คือ 298 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

เมื่อปี ค.ศ.1996 ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองผลของสมุนไพรผักขมหิน โดยทำการทดลองในกระต่ายที่ถูกทำให้เป็นเบาหวาน จากการกระตุ้นด้วยสาร alloxan โดยทำการเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน (tolbutamide, glibenclamide) พบว่าภายในเวลา 8 ชั่วโมง สามารถให้ผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เทียบเท่ากับยา tolbutamide

ประโยชน์ของผักขมหิน

ใบใช้รับประทานเป็นผัก ใช้ลวกจิ้มกับน้ำพริก โดยเฉพาะคนที่มีฐานะยากจนในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา และไทย

ในประเทศออสเตรเลียถือว่าผักขมหินเป็นวัชพืชชั้นดีที่ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัวและแกะ


แหล่งอ้างอิง :  สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. รูปภาพจาก http://www.monmai.com/ผักเบี้ยหิน‬
Advertisements

ไม่มีความคิดเห็น